แมลงวัน ก้นขน TACHINA FLY

แมลงวัน ก้นขน TACHINA FLY

  • ชื่อสามัญ : Tachina fly
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lydella grisescens
  • Family : Tachinidae
  • Order : Diptera

 

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา

ลักษณะหนวด : แบบ aristate มี flagellum เป็นปล้องใหญ่ปล้องเดียว บน flagellum จะมีเส้นขน arista ติดอยู่เป็นเส้นเล็ก ๆ เรียงกันเป็นแถว

ลักษณะปีก : ปีกมี 1 คู่เป็นแบบ membrane ปีกคู่หลังลดรูป (halter)

ลักษณะปาก : แบบซับดูด (sponging type)  

ลักษณะขา : แบบขาเดิน (walking leg) มีสีดำ โดยขาคู่แรกอยู่บริเวณต้นส่วนอกที่ติดกับส่วนหัว ส่วนขา 2 คู่หลัง อยู่ชิดกับบริเวณส่วนอกด้านท้ายติดกับส่วนท้อง

ลักษณะทั่วไป : มีลักษณะคล้ายกับแมลงวันหลังลาย แต่ลำตัวขนาดเล็กกว่า ลำตัวมีสีเทาอมฟ้า บริเวณปลายส่วนท้องจะมีขนจำนวนมาก มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 5.0-6.0 mm. ตารวมมีขนาดใหญ่สีน้ำตาลแดง ส่วนอก (thorax) มีเส้นสีดำพาดตามแนวยาว ส่วนท้อง (abdomen) มีเส้นสีดำพาดตามแนวขวาง ส่วนท้องมีขนทั้งสั้นและยาว

พฤติกรรม : ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในธรรมชาติที่แสงแดดส่องถึง

 

แมลงวันก้นขน มีการเจริญเติบโตแบบ complete metamorphosis ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • ระยะไข่ (egg) : กินเวลาเฉลี่ย 8-72 ชม. เพศเมียวางไข่ครั้งละ 120 -150 ฟอง สามารถขยายพันธุ์ได้ 200-1000 ฟอง ไข่มีสีขาว
  • ตัวอ่อน (larva) : กินเวลาเฉลี่ย 3-60 วัน มีลักษณะใสหรือสีครีม
  • ดักแด้ (pupa) : มีระยะเวลา 3-28 วัน มีสีน้ำตาลแดง
  • ตัวเต็มวัย (adult) :ตัวผู้มีอายุไขเฉลี่ย 17 วัน ตัวเมียอายุไขเฉลี่ย 29 วัน (ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียสและความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 45)

แหล่งอาหาร : กินอาหารได้คล้ายกับแมลงวันชนิดอื่น ๆ เช่น น้ำหวาน ซากสัตว์ เป็นต้น         

ลักษณะการทำลาย : เป็นแมลงตัวเบียน แมลงวันชนิดนี้สามารถเบียนตัวหนอนที่เข้าทำลายศัตรูทางการเกษตรได้โดยตัวจะเข้าไปวางไข่ในตัวหนอน และเจริญเติบโตอยู่ภายในหนอนแมลวันจะกินอยู่ภายในตัวหนอน และเจาะผนังตัวหนอนออกมาเข้าดักแด้ภายนอก

 

วิธีการป้องกันควบคุม

  • ควบคุมโดยวิธีกล เป็นการกำจัดแมลงวันในระยะต่าง ๆ ด้วยแรงคนหรือเครื่องมือการจับ เช่น การเก็บหนอน การใช้สวิงจับ การใช้กรงหรือมุ้งตาข่าย การใช้กล่องดักจับ และการใช้ไม้ตีแมลงเป็นต้น
  • การกำจัด และป้องกันด้วยเครื่องมือฟิสิกส์ เป็นการใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือประดิษฐ์ที่อาศัยคุณสมบัติทางฟิสิกส์ เช่น คลื่นความร้อน คลื่นเสียง สี และรังสี เพื่อช่วยในการขับไล่หรือป้องกันแมลง เช่น เครื่องไล่แมลงด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เครื่องไล่แมลงด้วยคลื่นความถี่สูง เป็นต้น
  • ทำบริเวณบ้านให้สะอาดโดยเฉพาะบริเวณท่อระบายน้ำ
  • พยายามอย่าวางอาหารไว้ด้านนอก ควรจะมีภาชนะปิดอาหารให้มิดชิด
  • ใช้วิธีแบบชีววิธี เช่น การใช้สเปรย์สมุนไพรไล่
  • ใช้สารเคมี
  • การใช้เครื่องพ่นควัน โดยใช้สารเคมีกลุ่ม Organophosphorus หรือ Carbamate ได้แก่ Diazinon, Diflubenzuron, Cyromazine เป็นต้น
  • การกำจัดแมลงวันตัวเต็มตามแหล่งเกาะพัก เพื่อลดความชุกชุมของแมลงวัน ด้วยการฉีดพ่นสารเคมี ได้แก่ ไดอะซิโนน (diazinon), เฟนิโทรไทออน (fenitrothion) หรือ พิริมิฟอส-เมทิล (pirimiphos-methyl) เป็นต้น
  • การใช้วัสดุห้อยแขวนทาสารเคมี ซึ่งสารมารถกำจัดได้มาก เนื่องจากแมลงวันมีนิสัยชอบเกาะตามวัสดุที่ห้อยแขวนในแนวดิ่ง เช่น ใช้เชือกหรือวัสดุที่เป็นเส้น ยาวประมาณ 1-2 เมตร ทาหรือชุบน้ำตาลผสมสารเคมี เช่น ไดอะซิโนน (diazinon), เฟนิโทรไทออน (fenitrothion) หรือ พิริมิฟอส-เมทิล (pirimiphos-methyl) หลังจากนั้น ทุกๆ 1-2 เดือนให้เปลี่ยนใหม่
  • การใช้เหยื่อพิษ วิธีนี้ใช้เหยื่อหรืออาหารที่แมลงวันชอบผสมสารกำจัดแมลง เช่น เศษอาหาร ผลไม้เน่า เนื้อเน่า ผสมกับสารเคมีในข้างต้นที่กล่าวมา
  • การฉีดพ่นด้วยสารสกัดสมุนไพรเพื่อกำจัดตัวอ่อนของแมลงวันในระยะต่าง ๆ เช่น สารสกัดจากส้มป่อย รากหนอนตายหยาก เป็นต้น

 

เอกสารอ้างอิง

C.J.B de Carvalho.2015. family Tachinidae . Zootaxa .4122 (1): 904–949

Wood, D. M. 1987. Chapter 110. Tachinidae. Pp. 1193-1269 in McAlpine, J.F., Peterson, B.V., Shewell, G.E., Teskey, H.J., Vockeroth, J.R. and D.M. Wood (eds.), Manual of Nearctic Diptera. Volume 2. Agriculture Canada Monograph 28: i-vi, 675-1332.

Barraclough, D.A. 1996. "Montanothalma natalensis, a new high altitude genus and species of Microphthalmini (Diptera: Tachinidae: Tachininae) from the Natal Drakensberg of South Africa". Annals of the Natal Museum. 37: 123–129.

  

...................................................................................................... 

*** สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม *** 

Tel : 02-374-7118-9, 02-377-2488, 02-377-9580, 02-375-1995
e-mail : customercare@unicorgroup.com
website : www.unicorgroup.com