แมลงบั่ว RICE GALL MIDGE

แมลงบั่ว RICE GALL MIDGE

  • ชื่อสามัญ : Rice gall midge
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Orseolia oryzae (Wood-Mason)
  • Family : Cecidomyiidae
  • Order : Diptera

 

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา

ลักษณะหนวด : ลูกปัด (moniliform)

ลักษณะปีก : ปีกมี 1 คู่เป็นแบบ membrane ปีกคู่หลังลดรูป (halter)

ลักษณะปาก : แบบเจาะดูด (piercing-sucking type)

ลักษณะขา : แบบขาเดิน (walking leg)

ลักษณะทั่วไป : ตัวเต็มวัยมีลักษณะคล้ายยุงหรือริ้น มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 3.0-4.0 mm. ส่วนขามีสีดำเรียวยาว เพศผู้มีลำตัวสีน้ำตาลปนเหลือง ขนาดตัวเล็กกว่าเพศเมียเพศเมียส่วนท้องมีสีแดงส้ม ตัวเต็มวัยมี

พฤติกรรม : ชอบเกาะซ่อนตัวอยู่ใต้ใบข้าวบริเวณกอข้าว และบินเข้าหาแสงไฟเพื่อผสมพันธุ์

 

แมลงบั่ว มีการเจริญเติบโตแบบ complete metamorphosis ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • ระยะไข่ (egg) : ระยะไข่เฉลี่ย 3-4 วัน ไข่มีสีขาวใส ต้องการความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ในการฟัก
  • ตัวอ่อน (larva) : กินเวลาเฉลี่ย 11 วัน ตัวอ่อนมี 3 ระยะ
  • ดักแด้ (pupa) : มีระยะเวลาเฉลี่ย 6 วัน
  • ตัวเต็มวัย (adult) : อยู่ได้ 3-4 วัน  มีวงจรชีวิตประมาณ 7-14 วัน

 

แหล่งอาหาร : พืชวงศ์หญ้า (F. Poaceae) เช่น ข้าว ข้าวป่า หญ้าไซ หญ้าปล้องเขียว หญ้าปล้องหิน หญ้าชันกาดและหญ้าตีนติด เป็นต้น

ลักษณะการทำลาย : แมลงบั่วจะออกเป็นตัวเต็มวัยเมื่อเริ่มฤดูฝน โดยจะอาศัยและเจริญเติบโตอยู่บนพืชอาศัยพวกข้าวป่าและหญ้าต่าง ๆ 1-2 ชั่วอายุ จนกระทั่งเริ่มมีการปลูกข้าว ตัวเต็มวัยแมลงบั่วจะเข้าแปลงนาตั้งแต่ระยะกล้า หรือช่วงระยะเวลา 25-30 วัน เพื่อวางไข่หลังจากฟักออกตัวหนอนจะคลานลงสู่ซอกของใบยอดและกาบใบเพื่อเข้าทำลายยอดที่กำลังเจริญทำให้เกิดเป็นหลอดลักษณะคล้ายหลอดหอม หลอดจะปรากฏภายใน 1 สัปดาห์ หลังจากที่ตัวหนอนเข้าไปที่จุดเจริญของข้าว ต้นข้าวและกอข้าวที่ถูกทำลายจะมีอาการแคระแกร็น เตี้ย ลำต้นกลม มีสีเขียวเข้ม ยอดที่ถูกทำลายไม่สามารถออกรวงได้ ทำให้ผลผลิตข้าวลดลงมาก ระยะข้าวแตกกอจะเป็นระยะที่บั่วเข้าทำลายมาก เมื่อข้าวเกิดช่อดอก (primodia) แล้วจะไม่ถูกหนอนบั่ว พบระบาดมากในช่วงฤดูฝน ในสภาพที่มีเมฆมากหรือมีฝนตก

การแพร่กระจาย : แพร่กระจายหลายประเทศในเอเชีย และพื้นที่ปลูกข้าวในแอฟริกา

 

วิธีการป้องกันควบคุม

  • ควบคุมโดยววิธีเขตกรรม ขจัดวัชพืชรอบแปลงนา เช่น ข้าวป่า หญ้าข้าวนก หญ้าไซ หญ้าแดง หญ้าชันกาด และหญ้านกสีชมพู ก่อนตกกล้าหรือหว่านข้าวเพื่อทำลายพืชอาศัยของแมลงบั่ว
  • ควรสุ่มตรวจแมลงและต้นข้าวอย่างสม่ำเสมอ โดยเริ่มตั้งแต่ต้นข้าวอายุ ไม่เกิน 7 วัน เพราะแมลงบั่วจะเริ่มระบาดตั้งแต่ระยะต้นกล้า
  • ใช้สารเคมี โดยใช้สาร cartap hydrochloride - isoprocarb หว่านในนาอัตราไร่ละ 5 กิโลกรัม และเมื่อต้นข้าวอายุ 1 เดือนขึ้นไป หากพบว่าต้นข้าวมีลักษณะคล้ายหลอดหอม 3 - 5 เปอร์เซ็นต์ ให้ใช้สารคลอไพรีฟอสฉีดพ่น จะลดการระบาดของแมลงบั่วได้

 

เอกสารอ้างอิง

Mohn, E. 1966-1971. Cecidomyiidae (=Itonididae). Cecidomyiinae (part). In: Lindner, E. (Ed.) Die Fliegen der Palaearktischen Region 2(2): 1-248.

Yukawa, J. (1971) A Revision of the Japanese Gall Midges (Diptera: Cecidomyiidae). Memoirs of the Faculty of Agriculture, Kagoshima University 8: 1-203

กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว. (ม.ป.ป.). แมลงศัตรูข้าว และการป้องกันกำจัด. แหล่งที่มา: http://webold.ricethailand.go.th/rkb3/title-index.php-file=content.php&id=56-1.htm, 20 กรกฎาคม 2565

Prasad, Rabindra (2011). "Status of the Rice Gall Midge (Orseolia oryzae W.M.) in the State of Jharkhand" (PDF). Journal of Rice Research. 4 (1, 2)

Jagadeesha Kumar, B. D.; Chakravarthy, A. K.; Doddabasappa, B.; Basavaraju, B. S. (2009). "Biology of the rice gall midge, Orseolia oryzae (Wood-Mason) in southern Karnataka". Karnataka J. Agric. Sci. 22 (3): 535–537

Vijaykumar, L.; Chakravarthy, A. K.; Patil, S. U.; Rajanna, D. (2009). "Resistance Mechanism in Rice to the Midge Orseolia oryzae (Diptera: Cecidomyiidae)". Journal of Economic Entomology. 102 (4): 1628–1639

 

...................................................................................................... 

*** สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม *** 

Tel : 02-374-7118-9, 02-377-2488, 02-377-9580, 02-375-1995
e-mail : customercare@unicorgroup.com
website : www.unicorgroup.com