หนูหริ่งใหญ่ COOK’S MOUSE
หนูหริ่งใหญ่ COOK’S MOUSE
- ชื่อสามัญ : Cook’s mouse
- ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mus cookii
- Family : Muridae
- Order : Rodentia
ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา
ลักษณะทั่วไป :เป็นหนูขนาดกลาง จมูกยาวแคบ ใบหูใหญ่และกว้าง ขนแข็ง ขนด้านหลังสีน้ำตาลเข้ม ขนด้านท้องมีสีขาวอมเทา หางอาจยาวสั้นหรือยาวกว่าความยาวหัวและลำตัวเล็กน้อย ความยาวหัวและลำตัวประมาณ 9.6 cm. หางยาวประมาณ 8.3 cm. หู 1.5 cm.
หนูหริ่งป่าขนสั้น มีการเจริญเติบโตทั้งหมด 3 ระยะ ประกอบด้วย
- ระยะตั้งครรภ์ (Gestation) : ออกลูกเฉลี่ย 5-10 ครอก/ปี ครอกละประมาณ 3-12 ตัวมีระยะเวลา 19-21 วัน
- หย่านม (Weaning) : มีระยะเวลา 3 สัปดาห์
- ตัวเต็มวัย (Adult) : มีอายุขัยประมาณ 12-18 เดือน
*อ้างอิงจาก M.musculus
พฤติกรรม : มักทำรังอยู่ใต้กองฟาง ออกหากินเวลากลางคืน
แหล่งอาศัย : ตามป่าหญ้า ป่าสน ทุ่งนา สวน และพื้นที่เกษตรกรรม
แหล่งอาหาร : พืชอาหารส่วนใหญ่จะเป็น ธัญพืช ข้าว ถั่วต่าง ๆ ข้าวโพด และแมลง
การแพร่กระจาย : แพร่กระจายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่อินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ พม่าตอนเหนือ ภาคกลางของไทย ลาว ตอนใต้ของจีน (มณฑลยูนาน) และเวียดนามตอนกลาง
การนำโรคที่เกิดจากสัตว์ฟันแทะจำพวกหนู
- โรคฉี่หนู (Leptospirosis) : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Leptospiraที่สะสมอยู่บริเวณท่อไตของหนู การแพร่เชื้อสู่คนเกิดจากการสัมผัสปัสสาวะหรือสารคัดหลั่งของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือสัมผัสกับน้ำหรือดินที่ปนเปื้อนปัสสาวะของสัตว์ที่ติดเชื้อ
- โรคไข้หนูกัด : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Streptobacillus moniliformesซึ่งอยู่ในช่องปาก จมูก ทางเดินหายใจส่วนต้นของสัตว์ฟันแทะจำพวกหนู โดยจะแพร่สู่คนโดยการกัดหรือข่วน เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล
- โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (LCMV) : เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Lymphocytic choriomeningitis virus (LCMV) มักเกิดจากการสัมผัสกับอุจจาระ ปัสสาวะ หรือน้ำลายของหนูที่ติดเชื้อ
- โรค Hantavirus : เกิดจาก Hantavirus ที่ปนเปื้อนมากับอุจจาระ ปัสสาวะ และสารคัดหลั่งจากสัตว์ฟันแทะ หรือจากการกัด รับเชื้อผ่านทางผิวหนังที่มีบาดแผล รวมถึงกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ
- โรค Q fever : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Coxiella burnetii คนมักติดโรคจากการหายใจเอาฝุ่นละอองที่ปนเปื้อนเชื้อ หรือจากการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ที่ติดเชื้อ
- โรคติดเชื้อในทางเดินอาหาร : เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนอยู่ในมูล ปัสสาวะ หรือสารคัดหลั่งของหนู โดยจะได้รับเชื้อจากการกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ อาทิเช่น Salmonellosis, Campylobacteriosis,Cryptosporidiosis เป็นต้น
- นอกจากนี้ยังมีโรคที่เกิดจากเห็บ หมัด และไรที่อยู่บนตัวหนู ได้แก่ โรคไข้กระตาย (Tularemia),กาฬโรค, โรคไข้กลับซ้ำ, โรคไข้รากสาดใหญ่
เอกสารอ้างอิง
Marshall, J.T. 1977. Family Muridae. In: Lekagul, B. and McNeely, J.A., ed., Mammals of ailand. Bangkok, Kurusapha Press, 397–487.
Marshall, J.T. 1977. A synopsis of Asian species of Mus (Rodentia, Muridae). Bulletin of the American Museum of Natural History, 158, 173–220.