หนูหริ่งบ้าน HOUSE MOUSE
หนูหริ่งบ้าน HOUSE MOUSE
- ชื่อสามัญ: House mouse
- ชื่อวิทยาศาสตร์: Mus musculus
- Family: Muridae
- Order: Rodentia
ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา
ลักษณะทั่วไป :หนูหริ่งบ้าน หรือ หนูบ้าน สีขนด้านบนและด้านท้องคล้ำ ขนบนหลังเท้าดำยกเว้นปลายเล็บเท้าขาว สีหางมีสีเดียว ฟันเล็ก หน้าสั้น มีน้ำหนักตัวประมาณ 12 กรัม ความยาวหัวรวมลำตัว 7.4 cm. หางยาว 7.9 cm. เท้าหลังยาว 1.6 cm. ใบหูยาว 1.2 cm. เพศเมียมีเต้านม 3 คู่ ที่อกและ 2 คู่ ที่ท้อง
หนูหริ่งหางสั้น มีการเจริญเติบโตทั้งหมด 3 ระยะ ประกอบด้วย
- ระยะตั้งครรภ์ (Gestation)ออกลูกเฉลี่ย 5-10 ครอก/ปี ครอกละประมาณ 3-12 ตัวมีระยะเวลา 19-21 วัน
- หย่านม (Weaning)มีระยะเวลา 3 สัปดาห์
- ตัวเต็มวัย (Adult) มีอายุขัยประมาณ 12-18 เดือน
พฤติกรรม : มักออกหากินเวลากลางคืน แม้ว่าบางตัวจะกระฉับกระเฉงในตอนกลางวันในบ้านของมนุษย์ วิ่งได้รวดเร็ว ปีนป่ายได้ดี และกระโดดจากที่สูงได้ และยังว่ายน้ำได้ดีอีกด้วย ตัวผู้เป็นใหญ่ ตัวเมียก้าวร้าวน้อยกว่าตัวผู้
แหล่งอาศัย : มักอาศัยอยู่ร่วมกับมนุษย์อย่างใกล้ชิด เช่น ในบ้าน ยุ้งฉาง และยังอยู่ในพื้นที่เพาะปลูก หรือพื้นที่ป่า ในสภาพป่า โดยทั่วไปจะอาศัยอยู่ในรอยแตกตามหินหรือผนัง หรือทำโพรงใต้ดินซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายอุโมงค์ที่ซับซ้อน มีหลายห้องสำหรับทำรังและเก็บของ และทางออกสามหรือสี่ทาง เมื่ออาศัยอยู่กับมนุษย์ จะทำรังอยู่ในกองไม้ พื้นที่เก็บของ หรือจุดซ่อนเร้นใกล้แหล่งอาหาร
แหล่งอาหาร : ในป่ากินพืช แมลง (ตัวอ่อนของด้วง ตัวหนอน และแมลงสาบ) และซากสัตว์ ในที่อยู่อาศัยของมนุษย์ จะกินอาหารของมนุษย์ และยังสามารถกินกาว สบู่ และวัสดุอื่น ๆ ในครัวเรือน
การแพร่กระจาย : ปัจจุบันมีการแพร่กระจายไปทั่วโลกโดยมนุษย์
การนำโรคที่เกิดจากสัตว์ฟันแทะจำพวกหนู
- โรคฉี่หนู (Leptospirosis) : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Leptospiraที่สะสมอยู่บริเวณท่อไตของหนู การแพร่เชื้อสู่คนเกิดจากการสัมผัสปัสสาวะหรือสารคัดหลั่งของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือสัมผัสกับน้ำหรือดินที่ปนเปื้อนปัสสาวะของสัตว์ที่ติดเชื้อ
- โรคไข้หนูกัด : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Streptobacillus moniliformesซึ่งอยู่ในช่องปาก จมูก ทางเดินหายใจส่วนต้นของสัตว์ฟันแทะจำพวกหนู โดยจะแพร่สู่คนโดยการกัดหรือข่วน เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล
- โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (LCMV) : เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Lymphocytic choriomeningitis virus (LCMV) มักเกิดจากการสัมผัสกับอุจจาระ ปัสสาวะ หรือน้ำลายของหนูที่ติดเชื้อ
- โรค Hantavirus : เกิดจาก Hantavirus ที่ปนเปื้อนมากับอุจจาระ ปัสสาวะ และสารคัดหลั่งจากสัตว์ฟันแทะ หรือจากการกัด รับเชื้อผ่านทางผิวหนังที่มีบาดแผล รวมถึงกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ
- โรค Q fever : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Coxiella burnetii คนมักติดโรคจากการหายใจเอาฝุ่นละอองที่ปนเปื้อนเชื้อ หรือจากการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ที่ติดเชื้อ
- โรคติดเชื้อในทางเดินอาหาร : เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนอยู่ในมูล ปัสสาวะ หรือสารคัดหลั่งของหนู โดยจะได้รับเชื้อจากการกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ อาทิเช่น Salmonellosis, Campylobacteriosis,Cryptosporidiosis เป็นต้น
- นอกจากนี้ยังมีโรคที่เกิดจากเห็บ หมัด และไรที่อยู่บนตัวหนู ได้แก่ โรคไข้กระตาย (Tularemia),กาฬโรค, โรคไข้กลับซ้ำ, โรคไข้รากสาดใหญ่
เอกสารอ้างอิง
Jackson, H.H.T. 1961. Mammals of Wisconsin. The University of Wisconsin Press, Madison, Wisconsin.
Kurta, A. 1995. Mammals of the Great Lakes Region. The University of Michigan Press, Ann Arbor, Michigan.
Nowak, R.M. and J.L Paradiso. 1983. Walker's Mammals of the World. 4th edition. John Hopkins University Press, Baltimore, Maryland.
Holy, T., Z. Guo. 2005. Ultrasonic songs of male mice. Public Library of Science, Biology, 3/12. Accessed November 02, 2005 at http://biology.plosjournals.org/perlserv/?request=get-document&doi=10.1371/journal.pbio.0030386.
Indik, S., W. Günzburg, B. Salmons, F. Rouault. 2005. Mouse mammary tumor virus infects human cells. Cancer Research, 65 (15): 6651-6659.
Sage, R., W. Atchley, E. Capanna. 1993. House mice as models in systematic biology. Systematic Biology, 42(4): 523-561.
Stewart, T., R. Sage, A. Stewart, D. Cameron. 2000. Breast cancer incidence highest in the range of one species of house mouse, Mus domesticus. British Journal of Cancer, 82(2): 446-451.
"Lymphocytic Choriomeningitis" (PDF). Iowa State University Center for Food Security and Public Health. March 2010
Verhaegh EM, Moudrous W, Buiting AG, van der Eijk AA, Tijssen CC (2014). "[Meningitis after a mouse bite]" [Meningitis after a mouse bite]. Nederlands Tijdschrift voor Geneeskunde (in Dutch). 158: A7033.
Centers for Disease Control Prevention (CDC) (August 2005). "Interim guidance for minimizing risk for human lymphocytic choriomeningitis virus infection associated with rodents". MMWR. Morbidity and Mortality Weekly Report. 54 (30): 747–9.
Brown K, Prescott J (February 2008). "Leptospirosis in the family dog: a public health perspective". CMAJ. 178 (4): 399–401.
Weidmann, Manfred; Schmidt, P.; Vackova, M.; Krivanec, K.; Munclinger, P.; Hufert, F. T. (February 2005). "Identification of Genetic Evidence for Dobrava Virus Spillover in Rodents by Nested Reverse Transcription (RT)-PCR and TaqMan RT-PCR". Journal of Clinical Microbiology. 43 (2): 808–812.
Centers for Disease Control and Prevention. 2014. Lymphocytic Choriomeningitis (LCM). Accessed on August 29, 2022, From https://www.cdc.gov/vhf/lcm/index.html
NSW Health. 2021. Staying healthy during a mouse plague. Accessed on August 29, 2022, From https://www.health.nsw.gov.au/environment/factsheets/Pages/mouse-plague.aspx
Center of Emerging and Re-emerging Infectious Diseases in Animals, Faculty of Veterinary Science Chulalongkorn University. (n.d.). Q fever. Accessed on August 29, 2022, From http://www.eidas.vet.chula.ac.th/node/382
Center of Emerging and Re-emerging Infectious Diseases in Animals, Faculty of Veterinary Science Chulalongkorn University. (n.d.). Hantavirus. Accessed on August 29, 2022, Fromchrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://www.cfsph.iastate.edu/FastFacts/th/hantavirus.pdf
Arkless, H.A., 1970, Rat bite fever at Albert Einstein Medical Center. Pa. Med. 73, 49.
Gilbert, G.L., Cassidy, J.F., Bennett, N.M., 1971, Rat bite fever. Med. J. Aust. 2, 1131-1134.
Wim Gaastra, Ron Boot, Hoa T.K. Ho, Len J.A. Lipman. Rat Bite Fever. Veterinary Microbiology, Elsevier, 2008, 133 (3), pp.211.