หนูท้องขาว ASIAN RAT
หนูท้องขาว ASIAN RAT
- ชื่อสามัญ: Asian rat, Asian house rat, Tanezumi rat
- ชื่อวิทยาศาสตร์: Rattus tanezumi
- Family: Muridae
- Order: Rodentia
ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา
ลักษณะทั่วไป :หนูท้องขาวหรือหนูบ้านเอเชีย เป็นหนูที่มีสายพันธุ์ใกล้เคียงกับหนูดำ แต่มักมีความแพร่หลายในแถบเอเชีย เป็นหนูขนาดกลาง ใบหูใหญ่ ลำตัวด้านบนมีขนสีน้ำตาล สีน้ำตาลเข้มถึงสีน้ำตาลอมเทาหรือสีน้ำตาลแดงขนท้องสีขาว, สีเหลืองอ่อน, สีส้ม,และสีเทา มีความยาวลำตัวประมาณ 11.4-22.4 cm. ความยาวหาง 11-23 cm. ความยาวเท้าหลัง 3-4.3 cm. และความยาวหู 1.6-2.5 cm. หางมีสีเทาเข้มและเกือบเปลือย
หนูท้องขาวมีการเจริญเติบโตทั้งหมด 3 ระยะ ประกอบด้วย
- ระยะตั้งครรภ์ (Gestation) : ผสมพันธุ์ตลอดทั้งปี โดยออกลูกปีละ 5 ครอก มีระยะเวลาประมาณ 21-29 วัน
- หย่านม (Weaning) : ประมาณ 3-4 สัปดาห์
- ระยะตัวเต็มวัย (Adult) : โดยทั่วไปมีอายุขัยประมาณ 1 ปี
*อ้างอิงจากหนูดำ (R. Rattus)
พฤติกรรม : มีพฤติกรรมคล้ายหนูดำ ออกหากินในเวลากลางคืน เคลื่อนที่ได้รวดเร็วสามารถปีนป่ายได้ดีและสามารถกระโดดได้สูงถึง 50 cm.
แหล่งอาศัย : มีแหล่งอาศัยอยู่ในแถบภาคใต้ ตามชายฝั่งทะเล ที่มีพืชตะกูลปาล์มน้ำมัน ป่าดิบชื้น รวมถึงป่าชายเลน นอกจากนี้ยังพบได้ในสวน พื้นที่พุ่มไม้เตี้ย ทุ่งหญ้า และสวน
แหล่งอาหาร : กินอาหารได้แทบทุกประเภท เช่น ขยะในฟาร์มและเศษอาหาร กินผลไม้ ธัญพืช ซีเรียล และพืชพรรณอื่น ๆ หรือแมลง ไส้เดือน
การแพร่กระจาย : แพร่หลายในเอเชีย พบในบังคลาเทศ ภูฏาน กัมพูชา จีนฟิจิ อินเดีย อินโดนีเซียญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ เนปาล ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม
การนำโรคที่เกิดจากสัตว์ฟันแทะจำพวกหนู
- โรคฉี่หนู (Leptospirosis) : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Leptospiraที่สะสมอยู่บริเวณท่อไตของหนู การแพร่เชื้อสู่คนเกิดจากการสัมผัสปัสสาวะหรือสารคัดหลั่งของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือสัมผัสกับน้ำหรือดินที่ปนเปื้อนปัสสาวะของสัตว์ที่ติดเชื้อ
- โรคไข้หนูกัด : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Streptobacillus moniliformesซึ่งอยู่ในช่องปาก จมูก ทางเดินหายใจส่วนต้นของสัตว์ฟันแทะจำพวกหนู โดยจะแพร่สู่คนโดยการกัดหรือข่วน เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล
- โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (LCMV) : เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Lymphocytic choriomeningitis virus (LCMV) มักเกิดจากการสัมผัสกับอุจจาระ ปัสสาวะ หรือน้ำลายของหนูที่ติดเชื้อ
- โรค Hantavirus : เกิดจาก Hantavirus ที่ปนเปื้อนมากับอุจจาระ ปัสสาวะ และสารคัดหลั่งจากสัตว์ฟันแทะ หรือจากการกัด รับเชื้อผ่านทางผิวหนังที่มีบาดแผล รวมถึงกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ
- โรค Q fever : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Coxiella burnetii คนมักติดโรคจากการหายใจเอาฝุ่นละอองที่ปนเปื้อนเชื้อ หรือจากการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ที่ติดเชื้อ
- โรคติดเชื้อในทางเดินอาหาร : เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนอยู่ในมูล ปัสสาวะ หรือสารคัดหลั่งของหนู โดยจะได้รับเชื้อจากการกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ อาทิเช่น Salmonellosis, Campylobacteriosis,Cryptosporidiosis เป็นต้น
- นอกจากนี้ยังมีโรคที่เกิดจากเห็บ หมัด และไรที่อยู่บนตัวหนู ได้แก่ โรคไข้กระตาย (Tularemia),กาฬโรค, โรคไข้กลับซ้ำ, โรคไข้รากสาดใหญ่
เอกสารอ้างอิง
Heaney, L.; Molur, S. (2016). "Rattus tanezumi". The IUCN Red List of Threatened Species. IUCN. 2016: e.T19366A115149780. doi:10.2305/IUCN.UK.2016-3.RLTS.T19366A22445589.en. Retrieved 14 December 2017.
Musser, G.G.; Carleton, M.D. (2005). "Superfamily Muroidea". In Wilson, D.E.; Reeder, D.M (eds.). Mammal Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. pp. 894–1531
Blasdell K, et al. Rodent-borne hantaviruses in Cambodia, Lao PDR, and Thailand. EcoHealth. 2011;8:432–443.
Huang L, et al. Analysis of gamasid mites (Acari: Mesostigmata) associated with the Asian house rat, Rattus tanezumi (Rodentia: Muridae) in Yunnan Province, Southwest China. Parasitol Res. 2013;112:1967–1972.
Plyusnina A, Ibrahim IN, Plyusnin A. A newly recognized hantavirus in the Asian house rat (Rattus tanezumi) in Indonesia. J Gen Virol. 2009;90:205–209.
Centers for Disease Control and Prevention. 2014. Lymphocytic Choriomeningitis (LCM). Accessed on August 29, 2022, From https://www.cdc.gov/vhf/lcm/index.html
NSW Health. 2021. Staying healthy during a mouse plague. Accessed on August 29, 2022, From https://www.health.nsw.gov.au/environment/factsheets/Pages/mouse-plague.aspx
Center of Emerging and Re-emerging Infectious Diseases in Animals, Faculty of Veterinary Science Chulalongkorn University. (n.d.). Q fever. Accessed on August 29, 2022, From http://www.eidas.vet.chula.ac.th/node/382
Center of Emerging and Re-emerging Infectious Diseases in Animals, Faculty of Veterinary Science Chulalongkorn University. (n.d.). Hantavirus. Accessed on August 29, 2022, Fromchrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://www.cfsph.iastate.edu/FastFacts/th/hantavirus.pdf