หนูหริ่งป่า เล็กขนสั้น GAIRDNER’S SHREW MOUSE
หนูหริ่งป่า เล็กขนสั้น GAIRDNER’S SHREW MOUSE
- ชื่อสามัญ : Gairdner’s shrew mouse
- ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mus pahari
- Family : Muridae
- Order : Rodentia
ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา
ลักษณะทั่วไป :เป็นหนูขนาดเล็ก มีความยาวหัวและลำตัว 7.5 - 105 cm. หาง 7 - 10 cm. หู 1.4 cm. น้ำหนัก 20 - 28 g. มีจมูกค่อนข้างยาวและตาเล็ก ขนเป็นเสี้ยน ขนด้านหลังมีสีเทาเข้มถึงเทาน้ำตาล ส่วนท้องเป็นสีขาว หางมีขนาดเท่ากับหรือสั้นกว่าความยาวของหัวและลำตัวเล็กน้อย
วงจรชีวิต : หนูหริ่งป่าขนสั้น มีการเจริญเติบโตทั้งหมด 3 ระยะ ประกอบด้วย
- ระยะตั้งครรภ์ (Gestation) : ออกลูกเฉลี่ย 5-10 ครอก/ปี ครอกละประมาณ 3-12 ตัวมีระยะเวลา 19-21 วัน
- หย่านม (Weaning) : มีระยะเวลา 3 สัปดาห์
- ตัวเต็มวัย (Adult) : มีอายุขัยประมาณ 12-18 เดือน
*อ้างอิงจาก M.musculus
พฤติกรรม : ออกหากินเวลากลางคืน ไม่ขุดโพรงแต่จะขุดรูเล็ก ๆ หรืออยู่ตามรอยแตกของดิน
แหล่งอาศัย : ตามคันนา หรือป่าหญ้า
แหล่งอาหาร : พืชอาหารส่วนใหญ่จะเป็น ข้าว ถั่วต่าง ๆ ข้าวโพด ลำไย เมล็ดหญ้า รากหญ้าและแมลง
การแพร่กระจาย : พบในประเทศจีน อินเดีย ลาว เมียนมาร์ ไทย และเวียดนาม
การนำโรคที่เกิดจากสัตว์ฟันแทะจำพวกหนู
- โรคฉี่หนู (Leptospirosis) : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Leptospiraที่สะสมอยู่บริเวณท่อไตของหนู การแพร่เชื้อสู่คนเกิดจากการสัมผัสปัสสาวะหรือสารคัดหลั่งของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือสัมผัสกับน้ำหรือดินที่ปนเปื้อนปัสสาวะของสัตว์ที่ติดเชื้อ
- โรคไข้หนูกัด : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Streptobacillus moniliformesซึ่งอยู่ในช่องปาก จมูก ทางเดินหายใจส่วนต้นของสัตว์ฟันแทะจำพวกหนู โดยจะแพร่สู่คนโดยการกัดหรือข่วน เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล
- โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (LCMV) : เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Lymphocytic choriomeningitis virus (LCMV) มักเกิดจากการสัมผัสกับอุจจาระ ปัสสาวะ หรือน้ำลายของหนูที่ติดเชื้อ
- โรค Hantavirus : เกิดจาก Hantavirus ที่ปนเปื้อนมากับอุจจาระ ปัสสาวะ และสารคัดหลั่งจากสัตว์ฟันแทะ หรือจากการกัด รับเชื้อผ่านทางผิวหนังที่มีบาดแผล รวมถึงกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ
- โรค Q fever : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Coxiella burnetii คนมักติดโรคจากการหายใจเอาฝุ่นละอองที่ปนเปื้อนเชื้อ หรือจากการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ที่ติดเชื้อ
- โรคติดเชื้อในทางเดินอาหาร : เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนอยู่ในมูล ปัสสาวะ หรือสารคัดหลั่งของหนู โดยจะได้รับเชื้อจากการกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ อาทิเช่น Salmonellosis, Campylobacteriosis,Cryptosporidiosis เป็นต้น
- นอกจากนี้ยังมีโรคที่เกิดจากเห็บ หมัด และไรที่อยู่บนตัวหนู ได้แก่ โรคไข้กระตาย (Tularemia),กาฬโรค, โรคไข้กลับซ้ำ, โรคไข้รากสาดใหญ่
เอกสารอ้างอิง
Musser, G.G.; Carleton, M.D. (2005). "Superfamily Muroidea". In Wilson, D.E.; Reeder, D.M. Mammal Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. pp. 894–1531
Mus pahari Thomas, 1916 in GBIF Secretariat (2021). GBIF Backbone Taxonomy. Checklist dataset https://doi.org/10.15468/39omei accessed via GBIF.org on 2022-08-25.