เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล BROWN PLANTHOPPER

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล BROWN PLANTHOPPER

  • ชื่อสามัญ : Brown planthopper
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nilaparvata lugens (Stal)
  • Family : Delphacidae
  • Order : hemiptera

 

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา

ลักษณะหนวด : แบบเส้นขน (Setaceous)

ลักษณะปีก : ปีกคู่หน้าเป็นแบบ Hemelytra บริเวณส่วนโคนปีกแข็งส่วนปีกคู่หลังเป็นแบบ membrane มีลักษณะบางใส

ลักษณะปาก : แบบเจาะดูด (piercing-sucking type)

ลักษณะขา : ขาคู่ที่ 1-2 เป็นแบบขาเดิน (walking leg) ขาคู่ที่ 3 เป็นแบบขากระโดด (Jumping leg)

ลักษณะทั่วไป : ขนาดความยาวลำตัวประมาณ 3.0 mm ลำตัวมีสีน้ำตาลปนเทา ตัวเต็มวัยตัวเต็มวัยมีรูปร่าง 2 แบบ คือ เป็นได้ทั้งชนิดปีกยาวและชนิดปีกสั้น ชอบเล่นไฟในเวลากลางคืน

 

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล มีการเจริญเติบโตแบบ incomplete metamorphosis ประกอบไปด้วย

  • ระยะไข่ (egg) : ตัวเมียสามารถวางไข่ได้ถึง 200 ฟอง มีเวลาประมาณ 7 วัน
  • ตัวอ่อน (Nymph) : ตัวอ่อนมีการลอกคราบ 5 ครั้ง ใช้เวลาประมาณ 10-20 วัน
  • ตัวเต็มวัย (adult)  : มีระยะเวลาประมาณ 10-15 วัน

แหล่งอาหาร : พืชตระกูลหญ้า (F.Poaceae) เช่น ข้าว เป็นต้น

ลักษณะการทำลาย : ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณโคนต้นข้าว และเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสโรคใบหงิก

การแพร่กระจาย : พบแพร่กระจายในออสเตรเลีย และหลายประเทศในเอเชีย เช่น ไทย พม่า กัมพูชา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เป็นต้น

 

วิธีการป้องกันควบคุม

  • ตัวห้ำ มวนเขียวดูดไข่ (Cyrtorhinus lividipennis) เป็นตัวห้ำในระยะไข่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล มีบทบาทในการลดปริมาณของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมาก ตัวเต็มวัยสีเขียว หัวและอกสีดำ ลำตัวยาว 2.5 - 3.3 มม. กินไข่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลประมาณ 7-10 ฟองต่อวันด้วงเต่า ด้วงเต่าสีส้ม ด้วงเต่าลายหยัก, ด้วงเต่าลายสมอ ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย เป็นตัวห้ำ กินไข่ กินตัวอ่อน และตัวเต็มวัยของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล วันละ 5-10 ฟองต่อตัว, แมงมุง
  • เชื้อรา ได้แก่ เชื้อราขาว (Beauveria bassiana) เชื้อราเขียว (Metarhizium sp.) และเชื้อราเฮอร์ซูเทลล่า (Hirsutella citriformis) ทำลายเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
  • กับดักไฟล่อแมลง
  • การใช้สารเคมี (Chemical control) การป้องกันกำจัดโดยใช้สารฆ่าแมลงสารที่ใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงชนิดนี้มักเป็นสารที่ออกฤทธ์แบบถูกตัวตาย และสารดูดซึมซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดซึมเข้าไปในต้นพืชโดยอาจเข้าไปทางราก ทางใบ กิ่ง ลำต้น หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพืชที่สัมผัสกับสาร แล้วเคลื่อนย้ายไปสู่ส่วนต่างๆ โดยเฉพาะยอดอ่อนที่แตกใหม่ๆ ได้แก่สารส่วนใหญ่ในกลุ่มออร์แกนโนฟอสเฟต (Organophosphate) และ คาร์บาเมท (Carbamate) ที่ใช้กันมานาน หลังจากนั้นก็มีสารนีโอนิโคตินอยด์ (Neo-nicotinoid) ที่มีประสิทธิภาพดีในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชจำพวกปากดูดหลายชนิด เช่นไดโนทีฟูราน-dinotefuran (Starkle) อะเซตามิพริด-acetamiprid (Molan) ไทอะมีโธแซม-thiamethoxam (Actara) คลอไทอะนิดิน-clothianidin (Dantosu) อิมิดาคลอพริด-imidacloprid (Confidor, Provado) และไทอะคลอพริด-thiachloprid (Calipso) 

เอกสารอ้างอิง

"Traditional medicinal knowledge about green leafhopper, Nephotettix spp., in Chhattisgarh (India)". International Rice Research Notes. 25 (3): 40

...................................................................................................... 

*** สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม *** 

Tel : 02-374-7118-9, 02-377-2488, 02-377-9580, 02-375-1995
e-mail : customercare@unicorgroup.com
website : www.unicorgroup.com