แมลงหวี่ตา

แมลงหวี่ตา ORIENTAL EYE FLY

  • ชื่อสามัญ : Oriental eye flies, Eye gnats, Eye flie
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Siphunculina funicola (de Meijere)
  • Family : Chloropidae
  • Order : Diptera

 

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา

ลักษณะหนวด : แบบ aristate หนวดแบบนี้มี flagellum เป็นปล้องใหญ่ปล้องเดียว บน flagellum จะมีเส้นขน arista ติดอยู่เป็นเส้นเล็ก ๆ เรียงกันเป็นแถว

ลักษณะปีก : ปีกมี 1 คู่เป็นแบบ membrane ปีกคู่หลังลดรูป (halter)

ลักษณะปาก : แบบซับดูด (sponging type)  

ลักษณะขา : แบบขาเดิน (walking leg) มีสีดำ

ลักษณะทั่วไป : ลักษณะลำตัวเล็ก สีเหลืองหรือสีดำ ลำตัวเงาแวววาว ตัวเต็มวัยยาวประมาณ 1.0-4.0 mm.

พฤติกรรม : พบได้ทั่วไป อยู่อาศัยกันเป็นกลุ่มตามที่สกปรก บินได้รวดเร็ว กระจายตัวในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาคใต้เรียก แมงโลม ภาคอีสานเรียก แมลงหวี่ มักเกาะตามสิ่งห้อยแขวน ออกหากินในเวลากลางวัน (25-27 °C)

 

แมลงหวี่ตา มีการเจริญเติบโตแบบ complete metamorphosis ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • ระยะไข่ (egg) : เพศเมียวางไข่ 30-100 ฟอง ไข่ลักษณะเรียงยาว สีขาวนวล ระยะไข่กินเวลา 1-2 วัน
  • ตัวอ่อน (larva) : ใช้เวลาประมาณ 4 วัน
  • ดักแด้ (pupa) : ใช้เวลาประมาณ 4 วัน
  • ตัวเต็มวัย (adult) : ระยะเวลาประมาณ 21-28 วัน มีวงจรชีวิตประมาณ 2-3 สัปดาห์

 

แหล่งอาหาร : สารคัดหลั่งจากมนุษย์หรือสัตว์ กินหนองตามบาดแผล ตามดวงตา

ลักษณะการทำลาย : เป็นพาหะนำโรคได้ เช่น โรคตาแดงชนิดตาอักเสบ หรือริดสีดวงตา สามารถระบาดได้อย่างรวดเร็ว

การแพร่กระจาย : แพร่กระจายในเขตร้อนของเอเชีย ยุโรป แอฟริกา

 

วิธีการป้องกันควบคุม

  •   ราดน้ำร้อนใส่ท่อระบายน้ำ เพื่อตัดวงจรชีวิต
  •   กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ ทำการกำจัดขยะมูลฝอย ทำความสะอาดรอบบ้าน ชายคา และเพดาน หรือใต้หลังคาโรงครัวให้สะอาด เป็นการทำลายที่อยู่อาศัย
  •   การกำจัดตัวแก่แมลงหวี่ค่อนข้างยาก เพราะที่อยู่กระจัดกระจาย การฉีดยาฆ่าแมลงต้องใช้อย่างระมัดระวัง พิษยาฆ่าแมลงจะเป็นพิษต่อคนในบ้าน การป้องกันไม่ให้แมลงหวี่ตอมลูกตาที่อักเสบและตุ่มแผลมีหนอง โดยวิธีปิดตาที่อักเสบ และปิดแผล ตุ่มหนองให้มิดชิดใช้แปรงทำความสะอาดท่อ เพื่อขจัดสิ่งสกปรก
  •   ไม่แขวนเชือกหรือสิ่งที่ทำให้แมลงหวี่ตามาเกาะพักอาศัยได้
  •   เทผลิตภัณฑ์กำจัดสิ่งอุดตันแบบเจลลงไป เทผลิตภัณฑ์ลงไปประมาณ 125 ml. รอบๆ ขอบของท่อระบายน้ำ
  •   ใช้สเปรย์กำจัดแมลง
  •   ใช้เครื่องดักแมลง

 

เอกสารอ้างอิง

Kanmiya (1982) Two New Species and Three New Records of the Genus Siphunculina Rondani from Japan (Diptera, Chloropidae). Japan. J. Sanit. Zool. 33 (2):111–121

 Brownstein S, Bernardo AI, Suprapto, Salim I. (1976) Neurofibromatosis with the eye fly Siphunculina funicola in an eyelid tumor. Can J Ophthalmol. 11(3):261-6

Chansang U, Mulla MS. (2008) Control of aggregated populations of the eye fly Siphunculina funicola (diptera: chloropidae) using pyrethroid aerosols. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 39(2):246-51 

Nartshuk, Emilia P. (2001) Two new species of Siphunculina Rondani from South Africa [Diptera, Cyclorrhapha, Chloropidae]. evue française d'entomologie 23(2):147-151

K. Kanmiya (1989) Study on the Eye-flies Siphunculina Rondani from Oriental Region and Far East (Diptera, Chloropidae). Japan. J. Sanit. Zool. 40 (Suppl.):65–89

Mir S. Mulla and Uruyakorn Chansang (2007) Pestiferous nature, resting sites, aggregation, and host-seeking behavior of the eye fly Siphunculina funicola (Diptera: Chloropidae) in Thailand. J. Vector Ecology 32(2):292-301

Siddiq, M.M. 1938. Siphunculina funicola (eye-fly). Ind. Med. Gaz. 73: 17-18

Kanmiya, K. 1994. Studies on the eye-flies Siphunculina Rondani from Nepal (Diptera : Chloropidae). Jpn. J. Sanit. Zool. 45 (Suppl): 55-69

Cherian, P.T. 1977. The genus Siphunculina (Diptera: Chloropidae). Orient. Insects 11: 636-368.

 

......................................................................................
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Tel : 02-377-2488, 02-377-9580, 02-375-1995, 02-374-7118-9
Line ID : 0819056566
e-mail : customercare@unicorgroup.com
website : www.unicorgroup.com
FB page: fb.me/Professional.Pest.control.Training.Programm
FB massenger : m.me/Professional.Pest.Control.Training.Programm

 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ