แมลงวันผลไม้/แมลงหวี่ ORIENTAL FRUIT FLY

แมลงวันทอง ORIENTAL FRUIT FLY

  • ชื่อสามัญ : Oriental fruit fly
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bactrocera dorsalis (Hendel)
  • Family : Tephritidae
  • Order : Diptera

 

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา

ลักษณะหนวด : aristate มี flagellum เป็นปล้องใหญ่ปล้องเดียว บน flagellum จะมีเส้นขน arista ติดอยู่เป็นเส้นเล็ก ๆ เรียงกันเป็นแถว

ลักษณะปีก : ปีกมี 1 คู่เป็นแบบ membrane ปีกคู่หลังลดรูป (halter) มีแถบสีดำ

ลักษณะปาก : ซับดูด (sponging type)  

ลักษณะขา : ขาเดิน (walking leg) มีสีดำ โดยขาคู่แรกอยู่บริเวณต้นส่วนอกที่ติดกับส่วนหัว ส่วนขา 2 คู่หลัง อยู่ชิดกับบริเวณส่วนอกด้านท้ายติดกับส่วนท้อง

ลักษณะทั่วไป : ลำตัวมีขนาดใหญ่กว่าแมลงวันบ้าน ลำตัวยาวประมาณ 8.0 mm. ความยาวของปีกประมาณ 7.3 mm. ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลปนดำ หรือน้ำตาลปนแดง ส่วนอกมีแถบสีเหลือง

 

แมลงวันทอง มีการเจริญเติบโตแบบ complete metamorphosis ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • ระยะไข่ (egg) : ใช้ระยะเวลา 1-3 วัน ไข่มีสีขาวขุ่น ผิวเป็นมัน คล้ายผลกล้วย
  • ตัวอ่อน (larva) : ใช้ระยะเวลา 5-9 วัน มีสีขาว
  • ดักแด้ (pupa) : ใช้ระยะเวลา 10-12 วัน มีสีน้ำตาลเป็นปล้องตามขวาง
  • ตัวเต็มวัย (adult) : มีระยะประมาณ 90 วัน

แหล่งอาหาร : ตัวอ่อนกินผลไม้เปลือกบางหรืออ่อนนุ่ม อาทิเช่น มะม่วง ชมพู่ พุทรา มะละกอ กล้วย เป็นต้น ตัวเต็มวัยกินน้ำหวาน โปรตีน และวิตามิน ที่มีในสิ่งขับถ่ายของแมลงอื่น นก ตลอดจนน้ำยางจากแผลต้นไม้ น้ำหวานจากพืช และเชื้อจุลินทรีย์บนพืชที่มีอยู่ในธรรมชาติเป็นอาหาร

ลักษณะการทำลาย : แมลงวันผลไม้ตัวเมียมาวางไข่ที่ผิวหรือในเนื้อผลไม้  โดยใช้อวัยวะวางไข่ที่เป็นปลายแหลม อยู่บริเวณก้นแทงทะลุเปลือกเข้าไปในเนื้อผลไม้ แล้วก็ปล่อยไข่ของมันลงไปฝังไว้ในเนื้อผลไม้นั้นด้วย แมลงวันผลไม้ตัวเมียนี้ จะมาวางไข่ได้ในขณะที่ผลยังอ่อนอยู่ และในระยะจวนจะสุกแก่แล้ว และเมื่อไข่ฟักตัวเป็นหนอนก็เกือบจะพอดีหรือพอดีกับระยะที่ผลไม้นั้นสุก เนื้อนิ่มพอดี ตัวหนอนซึ่งฟักออกมาแล้ว ก็จะเริ่มกัดกินอยู่ภายในผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บริเวณรอบ ๆของขั้วผล ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผลร่วงหล่น

การแพร่กระจาย : มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันแพร่กระจายในหลายประเทศ พบมากในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน

 

วิธีการป้องกันควบคุม

  • ควบคุมโดยวิธีกล เก็บผลไม้ที่ถูกแมลงวันผลไม้เข้ากัดทำลาย  ซึ่งมีหล่นอยู่ตามโคนต้น  รวบรวมนำไปฝังดิน และทำความสะอากพื้นที่รอบ ๆ เพื่อลดจำนวนของแมลงได้เบื้องต้น
  • ห่อหุ้มผลไม้ให้ตั้งแต่ผลมันยังไม่แก่ ห่อด้วยกระดาษสีน้ำตาลที่หนา และเหนียวพอสมควรอย่างเช่น กระดาษถุงปูนที่สะอาดก็ใช้ได้หรือบางทีก็อาจใช้ห่อด้วยพลาสติกใสก็ยังได้
  • ใช้เหยื่อพิษล่อ กำจัดตัวแก่เต็มวัยของเจ้าแมลงวันทองนี้โดยตรงโดยการใช้ผลไม้ที่ถูกแมลงวันทองเจาะทำลายเน่าเสียแล้วนี้ มากองสุมไว้เป็นจุด ๆ แล้วใช้สารฆ่าแมลง เช่น พวกสารไบกอน จำนวน 20 กรัม ผสมน้ำ 1 ลิตร ฉีดพ่นให้ผลไม้ที่กองล่อไว้นั้น   
  • ในพื้นที่มีการระบาดของแมลงวันทองเป็นประจำให้ใช้ยาฆ่าแมลงพวกมาลาไธออน หรือพวกไดเมทโธ-เอท หรือยาอื่น ๆ ที่เหมาะสมก็ได้ เอาผสมฉีดพ่นให้ทุก 4-5 วันต่อครั้ง ใช้วิธีแบบชีววิธี เช่น การใช้สเปรย์สมุนไพรไล่
  • ใช้กับดักฟีโรโมน โดยผสมเมทิลยูจินอลกับยาฆ่าแมลง เป็นสารล่อให้แมลงวันทองตัวผู้บินเข้ามาติดกรง เพื่อลดจำนวนที่ตัวเมียจะมาผสมพันธุ์ และจะทำให้ประชากรของแมลงวันผลไม้ลดลงไปด้วย

 

เอกสารอ้างอิง

Berg GH. 1979. Pictorial Key to Fruit Fly Larvae of theFamily Tephritidae. San Salvador: Org. Internac. Reg.Sanidad. Agropec. pp.36.

Hardy DE. 1949. Studies in Hawaiian fruit flies (Diptera, Tephritidae). Proceedings of the Entomology Society of Washington 51: 181–205.

Hardy DE. 1969. Taxonomy and distribution of the oriental fruit fly and related species (Tephritidae, Diptera). Proceedings of the Hawaiian Entomological Society. 20: 395–428.

 Hardy DE, Adachi M. 1956. Diptera: Tephritidae. Insects Micronesia (Honolulu) 14: 1–28.

สมาคมกีฏและสัตวิทยาแห่งประเทศไทย. 2558. แมลงวันผลไม้. แหล่งที่มา: http://www.ezathai.org/?p=209, 21 กรกฎาคม 2565

"oriental fruit fly - Bactrocera dorsalis". entnemdept.ufl.edu. Retrieved 2019-10-01

Stephens AE, Kriticos DJ, Leriche A (August 2007). "The current and future potential geographical distribution of the oriental fruit fly, Bactrocera dorsalis (Diptera: Tephritidae)" (PDF). Bulletin of Entomological Research. 97 (4): 369–78

...................................................................................................... 

*** สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม *** 

Tel : 02-374-7118-9, 02-377-2488, 02-377-9580, 02-375-1995
e-mail : customercare@unicorgroup.com
website : www.unicorgroup.com

 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ