ด้วงงวงข้าว Rice weevil

ด้วงงวงข้าว SITOPHILUS ORYZAE

  • ชื่อสามัญ : Rice weevil              
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sitophilus oryzae (Linnaeus)
  • Family : Curculionidae
  • Order : Coleoptera

 

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา

ลักษณะหนวด : แบบหักข้อศอก (geniculate)

ลักษณะปีก : ปีกคู่หน้าเป็นแบบแข็ง (Elytra) ปีกคู่หน้ามีร่องขนาดเล็ก ปีกคู่หลังเป็นแบบ membrane ลักษณะบางใส

ลักษณะปาก : แบบกัดกิน (chewing type)

ลักษณะขา : แบบขาเดิน (walking leg)

ลักษณะทั่วไป : ตัวเต็มวัยของด้วงงวงข้าวลักษณะภายนอกและรูปร่างเกือบทุกอย่างเหมือนด้วงงวงข้าวโพดแต่สีอ่อนกว่า และมีขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย ขนาด 2.0 - 3.0 mm. ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลดำ  ส่วนหัวจะยื่นออกมาเป็นงวง (snout หรือ rostrum) บริเวณอก (Thorax) มีหลุมขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่ว จากลักษณะภายนอกไม่สามารถจำแนกด้วงงวงทั้งสองชนิดได้อย่างชัดเจน

 

ด้วงงวงข้าว มีการเจริญเติบโตแบบ complete metamorphosis ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • ระยะไข่ (egg)  : มีระยะเวลา 3-6 วัน
  • ตัวอ่อน (larva) : มีระยะเวลา 20-30 วัน มีลักษณะตัวสั้นป้อมสีขาว ไม่มีรยางค์ หัวแข็งสีน้ำตาลอ่อน 
  • ดักแด้ (pupa) : มีระยะเวลา 3-7 วัน
  • ตัวเต็มวัย (adult) : มีอายุไขเฉลี่ย 1-2 เดือน ระยะการเจริญเติบโตจากไข่ถึงตัวเต็มวัยใช้เวลา 30-40 วัน

 

แหล่งอาหาร : เมล็ดธัญพืชทุกชนิด เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ เดือย เป็นต้น

ลักษณะการทำลาย : ตัวอ่อนจะกัดกินและเข้าดักแด้อยู่ภายในเมล็ด เมื่อเป็นตัวเต็มวัยจะเจาะผิวเมล็ดออกมาภายนอก เมล็ดที่ถูกด้วงงวงข้าวเข้าทำลายจะเป็นรูและข้างในเป็นโพรง เนื้อเมล็ดจะถูกหนอนกัดกินอยู่ภายใน หากมีการทำลายสูงจะเหลือแต่เปลือกไม่สามารถนำเมล็ดพืชมาบริโภคหรือใช้ประโยชน์ได้ ด้วงงวงข้าวไม่พบทำลายแป้งเนื่องจากตัวอ่อนไม่สามารถเจริญเติบโตในแป้งได้

การแพร่กระจาย : แพร่กระจายอยู่ทั่วโลก ในเขตอากาศร้อนและอบอุ่น จึงระบาดมากในเอเชียและแอฟริกา

 

วิธีการป้องกันควบคุม

  • ควรทำความสะอาดพื้นอาคารอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดแหล่งอาหารที่ตกอยู่ตามพื้น และแหล่งหลบซ่อนตามซอกมุมต่าง ๆ เช่น ตามมุมของโคนเสา ตู้ควบคุมวงจรไฟฟ้า เป็นต้น
  • ควบคุมอุณหภูมิโดยการใช้ความร้อนหรือเย็นจัดเพื่อให้แมลงหยุดการเจริญเติบโตและบางชนิดตายไป
  • ทำการอบแก๊ส Fumigate วัตถุดิบก่อนที่จะนำเข้ามาเก็บไว้ และ Fumigate สินค้าที่รอ Reject เพื่อป้องกัน การแพร่พันธุ์ของแมลงในโรงเก็บ กระจายไปในพื้นที่ใกล้เคียงได้
  • ไม่เก็บวัตถุดิบไว้เป็นเวลานาน เพื่อไม่ไห้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์หรือแหล่งสะสมของแมลงในโรงเก็บ
  • ใช้สถานีฟีโรโมน Pheromone trap เพื่อกำจัดตัวเต็มวัยและเป็นตัว monitor การระบาดและการแพร่กระจายของแมลง

 

เอกสารอ้างอิง

พรทิพย์ วิสารทานนท์, พรรณเพ็ญ ชโยภาส, ใจทิพย์ อุไรชื่น, รังสิมา เก่งการพานิช, กรรณิการ์ เพ็งคุ้ม, จิราภรณ์ ทองพันธ์, ดวงสมร สุทธิสุทธิ์, ลักขณา ร่มเย็น, ภาวินี หนูชนะภัย, อัจฉรา เพชรโชติ. (2551). แมลงที่พบในผลิตผลเกษตรและการป้องกันกำจัด. กลุ่มวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร กรมวิชาการเกษตร

......................................................................................

** สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม **
Tel : 02-377-2488, 02-377-9580, 02-375-1995, 02-374-7118-9
Line ID : 0819056566
e-mail : customercare@unicorgroup.com
website : www.unicorgroup.com
FB page: fb.me/Professional.Pest.control.Training.Programm
FB massenger : m.me/Professional.Pest.Control.Training.Programm

 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ