มอดข้าวเปลือก Lesser grain borer
มอดข้าวเปลือก RHYZOPERTHA DOMINICA
- ชื่อสามัญ : Lesser grain borer
- ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhyzopertha dominica (F.)
- Family : Silvanidae
- Order : Coleoptera
วงจรชีวิต :
มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบสมบูรณ์ มีทั้งหมด 4 ระยะ คือ ระยะไข่ใช้เวลาประมาณ 6-10 วัน ระยะตัวอ่อนใช้เวลาประมาณ 21-28 วัน ลอกคราบ 3-5 ครั้ง ระยะดักแด้ใช้เวลาประมาณ 6-8 วัน รวมระยะเวลาจากไข่เป็นตัวเต็มวัยประมาณ 1 เดือนขึ้นไป ระยะตัวเต็มวัยมีชีวิตอยู่ได้นาน 5 เดือนหรือมากกว่านี้
รูปร่างลักษณะ :
ไข่รูปรียาวสีขาว ตัวอ่อน (หนอน) มีกะโหลกแข็ง ที่อกมีขาจริง 3 คู่ ตัวสีขาวขุ่น ดักแด้ในระยะแรกจะเป็นสีขาวเมื่อใกล้ออกจากดักแด้สีจะเข้มขึ้น ตัวเต็มวัยมีรูปทรงกระบอกสีน้ำตาลเข้มปนแดง ส่วนหัวสั้น หัวงุ้มซ้อนอยู่ใต้อกปล้องแรกหันหน้าลงพื้นดิน อกปล้องแรกมีหลุมขนาดเล็กกระจายอยู่ ปีกคู่หน้ามีหลุมขนาดเล็กเรียงเป็นแถวตามความยาวปีกอย่างเป็นระเบียบ มีขนสั้นๆ ปกคลุม หนวดแบบกระบองมี 10 ปล้อง 3 ปล้องสุดท้ายขยายใหญ่
ลักษณะการทำลาย :
ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่ประมาณ 300-500 ฟอง โดยวางไข่เป็นกลุ่มตามรอยแตกบนเมล็ด ในช่องวางบนเมล็ด บนพื้นผิวส่วนที่หยาบของเมล็ด หรือวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ ตามเศษผงแป้งในกองข้าว เจาะเข้าทำลายภายในเมล็ดพืช ตัวหนอนกัดกินอยู่ภายในและเข้าดักแด้ภายในเมล็ด แล้วเจาะเมล็ดออกมาเมื่อเป็นตัวเต็มวัย พบเข้าทำลายตั้งแต่ในไร่แต่พบในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนใหญ่เข้าทำลายระยะหลังการเก็บเกี่ยว
ความสำคัญ :
เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญของข้าวเปลือก ข้าวสาลี ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเข้าทำลายร่วมกัน สามารถเจาะเปลือกหุ้มเมล็ดได้ รวมทั้งข้าวเปลือกซึ่งแมลงชนิดอื่นเข้าทำลายได้ยาก แพร่กระจายทั่วโลกพบมากในประเทศที่มีการปลูกข้าว ระบาดตลอดปีในประเทศเขตอบอุ่นและเขตร้อน พืชอาหารคือ ข้าวเปลือก ข้าวสาร ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวบาร์เลย์ ข้าวสาลี พืชหัว มันสำหลัง ไม้แห้ง ถั่วชนิดต่างๆ แต่ไม่สามารถเจริญเติบโตในถั่วเหลืองได้
วิธีการป้องกันควบคุม
- ควรทำความสะอาดพื้นอาคารอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดแหล่งอาหารที่ตกอยู่ตามพื้น และแหล่งหลบซ่อนตามซอกมุมต่าง ๆ เช่น ตามมุมของโคนเสา ตู้ควบคุมวงจรไฟฟ้า เป็นต้น
- ควบคุมอุณหภูมิโดยการใช้ความร้อนหรือเย็นจัดเพื่อให้แมลงหยุดการเจริญเติบโตและบางชนิดตายไป
- ทำการอบแก๊ส Fumigate วัตถุดิบก่อนที่จะนำเข้ามาเก็บไว้ และ Fumigate สินค้าที่รอ Reject เพื่อป้องกัน การแพร่พันธุ์ของแมลงในโรงเก็บ กระจายไปในพื้นที่ใกล้เคียงได้
- ไม่เก็บวัตถุดิบไว้เป็นเวลานาน เพื่อไม่ไห้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์หรือแหล่งสะสมของแมลงในโรงเก็บ
- ใช้สถานีฟีโรโมน Pheromone trap เพื่อกำจัดตัวเต็มวัยและเป็นตัว monitor การระบาดและการแพร่กระจายของแมลง
เอกสารอ้างอิง
พรทิพย์ วิสารทานนท์, พรรณเพ็ญ ชโยภาส, ใจทิพย์ อุไรชื่น, รังสิมา เก่งการพานิช, กรรณิการ์ เพ็งคุ้ม, จิราภรณ์ ทองพันธ์, ดวงสมร สุทธิสุทธิ์, ลักขณา ร่มเย็น, ภาวินี หนูชนะภัย, อัจฉรา เพชรโชติ. (2551). แมลงที่พบในผลิตผลเกษตรและการป้องกันกำจัด. กลุ่มวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร กรมวิชาการเกษตร
......................................................................................
** สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม **
Tel : 02-377-2488, 02-377-9580, 02-375-1995, 02-374-7118-9
Line ID : 0819056566
e-mail : customercare@unicorgroup.com
website : www.unicorgroup.com
FB page: fb.me/Professional.Pest.control.Training.Programm
FB massenger : m.me/Professional.Pest.Control.Training.Programm