มอดแป้ง Red flour beetle
มอดแป้ง TRIBOLIUM CASTANEUM
- ชื่อสามัญ : Red flour beetle
- ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tribolium castaneum (Herbst)
- Family : Tenebrionidae
- Order : Coleoptera
ลักษณะ
เป็นแมลงปีกแข้ง ลำตัวรูปร่างแบน รูปสี่เหลี่ยมยางมน ขนาด 2.3 – 4.4 มม. สีน้ำตาลแดง หนวดแบบกระบอง ผนังลำตัว ของหนอนค่อนข้างแข็ง ปลายท้องมีแถบ
ชีวประวัติ
ตัวเต็มวัยของมอดแป้งมีพฤติกรรมกัดกินไข่และดักแด้ของมันเอง ตัวเมียอาจผสมพันธุ์ได้หลายครั้ง วางไข่บนอาหารปริมาณการวางไข่ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ตัวหนอนลอกคราบ 7-8 ครั้ง โดยเฉลี่ยระยะหนอน 12-13 วัน แล้วเข้าดักแด้นาน 4-5 วัน วงจรชีวิตตั้งแต่ระยะไข่ จนฟักเป็นตัวเต็มวัยใช้เพียง 20 วัน ภายใต้สภาพที่เหมาะสม ตัวเต็มวัยสามารถดำรงชีวิตอยู่ถึง 6 เดือน มอดแป้งมักมีนิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม
การแพร่กระจาย และการเข้าทำลาย
ส่วนใหญ่จะติดมากับเมล็ดพันธุ์ วัสดุหีบห่อ การเข้าทำลายเกิดจากตัวเต็มวัยเข้ากัดกินบนผิวเมล็ดพืชที่มีแมลงในโรงเก็บชนิดอื่นเข้าทำลายให้เมล็ดแตกหักแล้ว ความเสียหายเกิดได้ทั้งจากตัวหนอนและตัวเต็มวัย แป้งที่มอดเข้าทำลายจะมีกลิ่นเหม็น
การกำจัดแหล่งต้นตอ
มอดแป้งจะชอบอาศัยอยู่ตามเมล็ดพันธุ์ และชอบหลบซ่อนตามกระสอบที่บรรจุผลิตพันธุ์ ตั้งแต่กระบวนการขนส่งวัตถุดิบ ฉะนั้นควรทำการอบกระสอบ หรือ วัสดุหีบห่อ ด้วยสารเคมีเพื่อลดปริมาณมอดแป้งก่อนจะส่งถึงโรงเก็บหรือโกดังเก็บผลิตพัน
วิธีการป้องกันควบคุม
- ควรทำความสะอาดพื้นอาคารอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดแหล่งอาหารที่ตกอยู่ตามพื้น และแหล่งหลบซ่อนตามซอกมุมต่างๆ เช่น ตามมุมของโคนเสา ตู้ควบคุมวงจรไฟฟ้า เป็นต้น
- ควบคุมอุณหภูมิโดยการใช้ความร้อนหรือเย็นจัดเพื่อให้แมลงหยุดการเจริญเติบโตและบางชนิดตายไป
- ทำการอบแก๊ส Fumigate วัตถุดิบก่อนที่จะนำเข้ามาเก็บไว้ และ Fumigate สินค้าที่รอ Reject เพื่อป้องกัน การแพร่พันธุ์ของแมลงในโรงเก็บ กระจายไปในพื้นที่ใกล้เคียงได้
- ไม่เก็บวัตถุดิบไว้เป็นเวลานาน เพื่อไม่ไห้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์หรือแหล่งสะสมของแมลงในโรงเก็บ
- ใช้สถานีฟีโรโมน Pheromone trap เพื่อกำจัดตัวเต็มวัยและเป็นตัว monitor การระบาดและการแพร่กระจายของแมลงจำพวกมอดแป้ง และมอดยาสูบ
เอกสารอ้างอิง
พรทิพย์ วิสารทานนท์, พรรณเพ็ญ ชโยภาส, ใจทิพย์ อุไรชื่น, รังสิมา เก่งการพานิช, กรรณิการ์ เพ็งคุ้ม, จิราภรณ์ ทองพันธ์, ดวงสมร สุทธิสุทธิ์, ลักขณา ร่มเย็น, ภาวินี หนูชนะภัย, อัจฉรา เพชรโชติ. (2551). แมลงที่พบในผลิตผลเกษตร และการป้องกันกำจัด. กลุ่มวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร กรมวิชาการเกษตร
......................................................................................
**สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม**
Tel : 02-377-2488, 02-377-9580, 02-375-1995, 02-374-7118-9
Line ID : 0819056566
e-mail : customercare@unicorgroup.com
website : www.unicorgroup.com
FB page: fb.me/Professional.Pest.control.Training.Programm
FB massenger : m.me/Professional.Pest.Control.Training.Programm