เพลี้ยกระโดดปีกยาว LONG-WINGED PLANTHOPPER

เพลี้ยกระโดดปีกยาว LONG-WINGED PLANTHOPPER

  • ชื่อสามัญ : Long-winged Planthopper
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Proutista moesta(Westwood)
  • Family : Derbidae
  • Order : Hemiptera

 

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา

ลักษณะหนวด : แบบเส้นขน (Setaceous)

ลักษณะปีก : ปีกคู่หน้าเป็นแบบ Hemelytra บริเวณส่วนโคนปีกแข็ง ส่วนปีกคู่หลังเป็นแบบ membrane มีลักษณะบางใส

ลักษณะปาก : แบบเจาะดูด (piercing-sucking type)

ลักษณะขา : ขาคู่ที่ 1-2 เป็นแบบขาเดิน (walking leg) ขาคู่ที่ 3 เป็นแบบขากระโดด (Jumping leg)

ลักษณะทั่วไป : ขนาดความยาวลำตัวประมาณ 3.0 mm  ตัวเต็มวัยตัวเต็มวัยมีรูปร่าง 2 แบบ คือ เป็นได้ทั้งชนิดปีกยาวและชนิดปีกสั้น ชอบเล่นไฟในเวลากลางคืน

 

เพลี้ยกระโดดปีกยาว มีการเจริญเติบโตแบบ incomplete metamorphosis ประกอบไปด้วย 

  • ระยะไข่ (egg) : ตัวเมียสามารถวางไข่ได้ถึง 200 ฟอง ระยะไข่มีเวลาประมาณ 7 วัน  จึงฟักเป็นตัวอ่อน
  • ตัวอ่อน (Nymph) : มีการลอกคราบ 5 ครั้ง ใช้เวลาประมาณ 10-20 วัน
  • ตัวเต็มวัย (adult) : มีระยะเวลาประมาณ 10-15 วัน

แหล่งอาหาร : พืชตระกูลหญ้า (F. Poaceae) เช่น ข้าว เป็นต้น ตัวอ่อนกินเชื้อรา

ลักษณะการทำลาย : ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณโคนต้นข้าวเหนือระดับน้ำ

การแพร่กระจาย : แพร่กระจายในเขตร้อน

 

วิธีการป้องกันควบคุม

  • เชื้อรา ได้แก่ เชื้อราขาว (Beauveria bassiana) เชื้อราเขียว (Metarhizium sp.) และเชื้อราเฮอร์ซูเทลล่า (Hirsutella citriformis) ทำลายเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
  • กับดักไฟล่อแมลง
  • การใช้สารเคมี (Chemical control) การป้องกันกำจัดโดยใช้สารฆ่าแมลงสารที่ใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงชนิดนี้มักเป็นสารที่ออกฤทธ์แบบถูกตัวตาย และสารดูดซึมซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดซึมเข้าไปในต้นพืชโดยอาจเข้าไปทางราก ทางใบ กิ่ง ลำต้น หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพืชที่สัมผัสกับสาร แล้วเคลื่อนย้ายไปสู่ส่วนต่างๆ โดยเฉพาะยอดอ่อนที่แตกใหม่ๆ ได้แก่สารส่วนใหญ่ในกลุ่มออร์แกนโนฟอสเฟต (Organophosphate) และ คาร์บาเมท (Carbamate) ที่ใช้กันมานาน หลังจากนั้นก็มีสารนีโอนิโคตินอยด์ (Neo-nicotinoid) ที่มีประสิทธิภาพดีในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชจำพวกปากดูดหลายชนิด เช่นไดโนทีฟูราน-dinotefuran (Starkle) อะเซตามิพริด-acetamiprid (Molan) ไทอะมีโธแซม-thiamethoxam (Actara) คลอไทอะนิดิน-clothianidin (Dantosu) อิมิดาคลอพริด-imidacloprid (Confidor, Provado) และไทอะคลอพริด-thiachloprid (Calipso)

 

เอกสารอ้างอิง

Willis, H. L. 1982. Collection of Euklastus harti in Wisconsin. Entomological News 93: 51-53.

Wheeler, A. G., Jr. and S. W. Wilson. 1996. Planthoppers of pitch pine and scrub oak in pine barrens communities (Homoptera: Fulgoroidea). Proceedings of the Entomological Society of Washington 98: 100-108.

Kalaisekar, A (2017). Insect pests of millets: systematics, bionomics, and management. London: Elsevier

 

...................................................................................................... 

*** สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม *** 

Tel : 02-374-7118-9, 02-377-2488, 02-377-9580, 02-375-1995
e-mail : customercare@unicorgroup.com
website : www.unicorgroup.com