หนูหริ่งนา หางสั้น FAWN-COLORED MOUSE
หนูหริ่งนา หางสั้น FAWN-COLORED MOUSE
- ชื่อสามัญ : Fawn-colored mouse
- ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mus cervicolor
- Family : Muridae
- Order : Rodentia
ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา
ลักษณะทั่วไป :เป็นหนูขนาดเล็ก มีความยาวหัวและลำตัว 7 – 9.5 cm. หางยาว 5 - 7cm. หู 1.3 – 1.5 cm. เท้าหลัง 1.4 – 1.9 cm. น้ำหนัก 8 - 17 g. ขนนุ่ม ขนด้านหลังสีน้ำตาลส้มถึงสีเทา และบริเวณหน้าท้องเป็นสีขาวอมเทา หางสั้นกว่าความยาวหัวและลำตัว
วงจรชีวิต : หนูหริ่งหางสั้น มีการเจริญเติบโตทั้งหมด 3 ระยะ ประกอบด้วย
- ระยะตั้งครรภ์ (Gestation) : ออกลูกเฉลี่ยครอกละ 5-6 ตัวมีระยะเวลา 20 วัน
- หย่านม (Weaning) : มีระยะเวลา 3 สัปดาห์
- ตัวเต็มวัย (Adult) : มีอายุขัยประมาณ 12-18 เดือนมากสุดที่บันทึกได้คือ 3 ปี
พฤติกรรม : ออกหากินเวลากลางคืน ตื่นตัวมาก ทำรังโดยการขุดโพรงค่อนข้างสั้นแต่มีทางออกหลายทาง
แหล่งอาศัย : อาศัยตามรอยแตกของดิน หรือบริเวณที่วัชพืชขึ้นหนาแน่น บางครั้งพบอาศัยในรังนกร้าง
แหล่งอาหาร : กินธัญพืช เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่วต่าง ๆและแมลง
การแพร่กระจาย : แพร่กระจายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ตะวันออกของเนปาลไปจนถึง เมียนมาร์ ไทย ลาว กัมพูชา ตอนใต้และตอนกลางของเวียดนาม
การนำโรคที่เกิดจากสัตว์ฟันแทะจำพวกหนู
- โรคฉี่หนู (Leptospirosis) : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Leptospiraที่สะสมอยู่บริเวณท่อไตของหนู การแพร่เชื้อสู่คนเกิดจากการสัมผัสปัสสาวะหรือสารคัดหลั่งของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือสัมผัสกับน้ำหรือดินที่ปนเปื้อนปัสสาวะของสัตว์ที่ติดเชื้อ
- โรคไข้หนูกัด : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Streptobacillus moniliformesซึ่งอยู่ในช่องปาก จมูก ทางเดินหายใจส่วนต้นของสัตว์ฟันแทะจำพวกหนู โดยจะแพร่สู่คนโดยการกัดหรือข่วน เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล
- โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (LCMV) : เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Lymphocytic choriomeningitis virus (LCMV) มักเกิดจากการสัมผัสกับอุจจาระ ปัสสาวะ หรือน้ำลายของหนูที่ติดเชื้อ
- โรค Hantavirus : เกิดจาก Hantavirus ที่ปนเปื้อนมากับอุจจาระ ปัสสาวะ และสารคัดหลั่งจากสัตว์ฟันแทะ หรือจากการกัด รับเชื้อผ่านทางผิวหนังที่มีบาดแผล รวมถึงกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ
- โรค Q fever : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Coxiella burnetii คนมักติดโรคจากการหายใจเอาฝุ่นละอองที่ปนเปื้อนเชื้อ หรือจากการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ที่ติดเชื้อ
- โรคติดเชื้อในทางเดินอาหาร : เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนอยู่ในมูล ปัสสาวะ หรือสารคัดหลั่งของหนู โดยจะได้รับเชื้อจากการกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ อาทิเช่น Salmonellosis, Campylobacteriosis,Cryptosporidiosis เป็นต้น
- นอกจากนี้ยังมีโรคที่เกิดจากเห็บ หมัด และไรที่อยู่บนตัวหนู ได้แก่ โรคไข้กระตาย (Tularemia),กาฬโรค, โรคไข้กลับซ้ำ, โรคไข้รากสาดใหญ่
เอกสารอ้างอิง
Marshall, J.T. 1977. Family Muridae. In: Lekagul, B. and McNeely, J.A., ed., Mammals of Thailand. Bangkok, Kurusapha Press, 397–487.
Marshall, J.T. 1977. A synopsis of Asian species of Mus (Rodentia, Muridae). Bulletin of the American Museum of Natural History, 158, 173–220.
Newton, P.N., Rands, M.R.W. and Bowden, C.G.R. 1990. A collection of small mammals from eastern Nepal. Mammalia, 54, 239–244.
Rao, A.M.K.M. 1992. The mice, Mus spp. In: Prakash, I. and Ghosh, P.K., ed., Rodents in Indian agriculture, volume 1. Jodhpur, Scientifi c Publishers, 147–164.
Mus cervicolor Hodgson, 1845 in GBIF Secretariat (2021). GBIF Backbone Taxonomy. Checklist dataset https://doi.org/10.15468/39omei accessed via GBIF.org on 2022-08-25.
Lekagul, B.P.D., M. Round, K. Wongkalisn and B.K. Komolphalin. 1991. A Guide to the Birds of Thailand. Kuruspa, Bangkok. 457 p.
Young-Dae WOO; Yong-Kyu CHU; Ho-Wang LEE. 1998. Isolation of the Hantaviruses from the Lungs of Bandicota indica Captured in Indonesia and Thailand. Journal of the Korean Society of Virology: 157-164
Centers for Disease Control and Prevention. 2014. Lymphocytic Choriomeningitis (LCM). Accessed on August 29, 2022, From https://www.cdc.gov/vhf/lcm/index.html
NSW Health. 2021. Staying healthy during a mouse plague. Accessed on August 29, 2022, From https://www.health.nsw.gov.au/environment/factsheets/Pages/mouse-plague.aspx
Center of Emerging and Re-emerging Infectious Diseases in Animals, Faculty of Veterinary Science Chulalongkorn University. (n.d.). Q fever. Accessed on August 29, 2022, From http://www.eidas.vet.chula.ac.th/node/382
Center of Emerging and Re-emerging Infectious Diseases in Animals, Faculty of Veterinary Science Chulalongkorn University. (n.d.). Hantavirus. Accessed on August 29, 2022, Fromchrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://www.cfsph.iastate.edu/FastFacts/th/hantavirus.pdf
กลุ่มงานสัตววิทยาการเกษตร กองกีฏและสัตววิทยา. 2544. หนูและการป้องกันกำจัด. กรมวิชาการเกษตร. 136 หน้า.
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กลุ่มวิจัยกีฏและสัตววิทยา. 2551. คำแนะนำการใช้สารป้องกันกำจัดแมลงและสัตว์ศัตรูพืช. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. 295 หน้า.