หนูหริ่งนาหางยาว RYUKYU MOUSE
หนูหริ่งนาหางยาว RYUKYU MOUSE
- ชื่อสามัญ: Ryukyu mouse
- ชื่อวิทยาศาสตร์: Mus caroli
- Family: Muridae
- Order: Rodentia
ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา
ลักษณะทั่วไป :เป็นหนูขนาดเล็ก มีความยาวหัวและลำตัว 6.2 – 9.5 cm. หางยาง 6.5 – 9.5 cm. หู 1.2 – 1.4 cm. เท้าหลัง 1.5 – 1.9 cm. น้ำหนัก 11.5 – 19.5 g. มีขนด้านหลังสีน้ำตาลอมเทา ขนแข็ง และขนหน้าท้องสีขาวอมเทา หางมีความยาวเท่ากับหรือมากกว่าความยาวหัวและลำตัว
หนูหริ่งป่าขนสั้น มีการเจริญเติบโตทั้งหมด 3 ระยะ ประกอบด้วย
- ระยะตั้งครรภ์ (Gestation) : ออกลูกเฉลี่ยครอกละประมาณ 6-12 ตัวมีระยะเวลา 21 วัน
- หย่านม (Weaning) : มีระยะเวลา 3 สัปดาห์
- ตัวเต็มวัย (Adult) : มีอายุขัยประมาณ 12-18 เดือน
*อ้างอิงจาก M.musculus
พฤติกรรม : ออกหากินเวลากลางคืน จึงตื่นตัวในเวลากลางคืน สร้างรังหลายรังตลอดอายุขัย มักอยู่ตามลำพัง อาจพบอยู่เป็นกลุ่มในบางครั้ง
แหล่งอาศัย : อาศัยอยู่ใกล้กับแหล่งอาศัยของมนุษย์ ในทุ่งนา โพรงหญ้าแห้ง รอยแยกระหว่างโขดหิน พื้นที่เพาะปลูกและป่า
แหล่งอาหาร : กินเมล็ดพืช แมลง เช่นตั๊กแตนและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
การแพร่กระจาย : แพร่กระจายในประเทศกัมพูชา อินโดนีเซีย จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย ลาว ไต้หวัน เวียดนาม และไทย
การนำโรคที่เกิดจากสัตว์ฟันแทะจำพวกหนู
- โรคฉี่หนู (Leptospirosis) : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Leptospiraที่สะสมอยู่บริเวณท่อไตของหนู การแพร่เชื้อสู่คนเกิดจากการสัมผัสปัสสาวะหรือสารคัดหลั่งของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือสัมผัสกับน้ำหรือดินที่ปนเปื้อนปัสสาวะของสัตว์ที่ติดเชื้อ
- โรคไข้หนูกัด : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Streptobacillus moniliformesซึ่งอยู่ในช่องปาก จมูก ทางเดินหายใจส่วนต้นของสัตว์ฟันแทะจำพวกหนู โดยจะแพร่สู่คนโดยการกัดหรือข่วน เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล
- โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (LCMV) : เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Lymphocytic choriomeningitis virus (LCMV) มักเกิดจากการสัมผัสกับอุจจาระ ปัสสาวะ หรือน้ำลายของหนูที่ติดเชื้อ
- โรค Hantavirus : เกิดจาก Hantavirus ที่ปนเปื้อนมากับอุจจาระ ปัสสาวะ และสารคัดหลั่งจากสัตว์ฟันแทะ หรือจากการกัด รับเชื้อผ่านทางผิวหนังที่มีบาดแผล รวมถึงกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ
- โรค Q fever : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Coxiella burnetii คนมักติดโรคจากการหายใจเอาฝุ่นละอองที่ปนเปื้อนเชื้อ หรือจากการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ที่ติดเชื้อ
- โรคติดเชื้อในทางเดินอาหาร : เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนอยู่ในมูล ปัสสาวะ หรือสารคัดหลั่งของหนู โดยจะได้รับเชื้อจากการกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ อาทิเช่น Salmonellosis, Campylobacteriosis,Cryptosporidiosis เป็นต้น
- นอกจากนี้ยังมีโรคที่เกิดจากเห็บ หมัด และไรที่อยู่บนตัวหนู ได้แก่ โรคไข้กระตาย (Tularemia),กาฬโรค, โรคไข้กลับซ้ำ, โรคไข้รากสาดใหญ่
เอกสารอ้างอิง
Mus caroli Bonhote, 1902 in GBIF Secretariat (2021). GBIF Backbone Taxonomy. Checklist dataset https://doi.org/10.15468/39omei accessed via GBIF.org on 2022-08-25.
Kidadl Team. 2021. Fun Ryukyu Mouse Facts for Kids. Accessed on August 25, 2022, From https://kidadl.com/facts/animals/ryukyu-mouse-facts
Young-Dae WOO; Yong-Kyu CHU; Ho-Wang LEE. 1998. Isolation of the Hantaviruses from the Lungs of Bandicota indica Captured in Indonesia and Thailand. Journal of the Korean Society of Virology: 157-164
Centers for Disease Control and Prevention. 2014. Lymphocytic Choriomeningitis (LCM). Accessed on August 29, 2022, From https://www.cdc.gov/vhf/lcm/index.html
NSW Health. 2021. Staying healthy during a mouse plague. Accessed on August 29, 2022, From https://www.health.nsw.gov.au/environment/factsheets/Pages/mouse-plague.aspx
Center of Emerging and Re-emerging Infectious Diseases in Animals, Faculty of Veterinary Science Chulalongkorn University. (n.d.). Q fever. Accessed on August 29, 2022, From http://www.eidas.vet.chula.ac.th/node/382
Center of Emerging and Re-emerging Infectious Diseases in Animals, Faculty of Veterinary Science Chulalongkorn University. (n.d.). Hantavirus. Accessed on August 29, 2022, Fromchrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://www.cfsph.iastate.edu/FastFacts/th/hantavirus.pdf