หนูพุกใหญ่ GREATER BANDICOOT RAT
หนูพุกใหญ่ GREATER BANDICOOT RAT
- ชื่อสามัญ : Greater bandicoot rat
- ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bandicota indica
- Family : Muridae
- Order : Rodentia
ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา
ลักษณะทั่วไป :เป็นหนูขนาดใหญ่ มีความยาวหัวและลำตัวประมาณ 18.8-35 cm. หางยาว 14.6-18 cm. หู 2.7-3.3 cm. เท้าคู่หลังยาว 4.2-6 cm. ด้านหลังมีขนแข็งยาว สีดำ ตั้งเป็นแผงยื่นยาวกว่าขนชนิดอื่นเพศเมียมีเต้านม 6 คู่
หนูพุกใหญ่มีการเจริญเติบโตทั้งหมด 3 ระยะ ประกอบด้วย
- ระยะตั้งครรภ์ (Gestation) : ออกลูกเฉลี่ยครอกละประมาณ 4-8 ตัว มีระยะเวลา 23 วัน
- หย่านม (Weaning) : มีระยะเวลาประมาณ 25-28 วัน
- ตัวเต็มวัย (Adult) : มีอายุขัยประมาณ 1 ปี
พฤติกรรม : ออกหากินเวลากลางคืน ว่ายน้ำได้ดี มีพฤติกรรมก้าวร้าว ดุร้าย ส่งเสียงขู่เมื่อถูกรบกวนหากถูกจับขังร่วมกับตัวอื่น จะกัดกันจนตาย บางครั้งสุนัขหรือหนูก็กลัวหนูชนิดนี้
แหล่งอาศัย : บริเวณรอบ ๆ แหล่งอาศัยของมนุษย์ เช่น สนามหญ้า สวน บริเวณใกล้ถังขยะ มักจะขุดโพรงทำให้พื้นดินเกิดความเสียหาย นอกจากนี้ยังพบในพื้นที่เพาะปลูกและบริเวณใกล้แหล่งน้ำอีกด้วย
แหล่งอาหาร : กินอาหารได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นพืช เช่น ข้าว ผักและผลไม้ กินสัตว์จำพวกแมลง ไส้เดือน หรือสัตว์น้ำ
การแพร่กระจาย : กระจายอยู่ทั่วไปในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงตอนใต้ของจีนและไต้หวัน
การนำโรคที่เกิดจากสัตว์ฟันแทะจำพวกหนู
- โรคฉี่หนู (Leptospirosis) : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Leptospiraที่สะสมอยู่บริเวณท่อไตของหนู การแพร่เชื้อสู่คนเกิดจากการสัมผัสปัสสาวะหรือสารคัดหลั่งของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือสัมผัสกับน้ำหรือดินที่ปนเปื้อนปัสสาวะของสัตว์ที่ติดเชื้อ
- โรคไข้หนูกัด : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Streptobacillus moniliformesซึ่งอยู่ในช่องปาก จมูก ทางเดินหายใจส่วนต้นของสัตว์ฟันแทะจำพวกหนู โดยจะแพร่สู่คนโดยการกัดหรือข่วน เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล
- โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (LCMV) : เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Lymphocytic choriomeningitis virus (LCMV) มักเกิดจากการสัมผัสกับอุจจาระ ปัสสาวะ หรือน้ำลายของหนูที่ติดเชื้อ
- โรค Hantavirus : เกิดจาก Hantavirus ที่ปนเปื้อนมากับอุจจาระ ปัสสาวะ และสารคัดหลั่งจากสัตว์ฟันแทะ หรือจากการกัด รับเชื้อผ่านทางผิวหนังที่มีบาดแผล รวมถึงกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ
- โรค Q fever : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Coxiella burnetii คนมักติดโรคจากการหายใจเอาฝุ่นละอองที่ปนเปื้อนเชื้อ หรือจากการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ที่ติดเชื้อ
- โรคติดเชื้อในทางเดินอาหาร : เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนอยู่ในมูล ปัสสาวะ หรือสารคัดหลั่งของหนู โดยจะได้รับเชื้อจากการกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ อาทิเช่น Salmonellosis, Campylobacteriosis,Cryptosporidiosis เป็นต้น
- นอกจากนี้ยังมีโรคที่เกิดจากเห็บ หมัด และไรที่อยู่บนตัวหนู ได้แก่ โรคไข้กระตาย (Tularemia),กาฬโรค, โรคไข้กลับซ้ำ, โรคไข้รากสาดใหญ่
เอกสารอ้างอิง
Aplin, K.P., Frost, A., Tuan, N.P., Hung, N.M. and Lan, L.P. 2003. Notes on the taxonomy and biology of rodents of the genus Bandicota in Southeast Asia. In: Singleton, G.R., Hinds, L.A., Krebs, C.J. and Spratt, D.M., ed., Rats, mice and people: rodent biology and management. ACIAR Monograph No. 96. Canberra, Australian Centre for International Agricultural Research, 531–535.
Bandicota indica (Bechstein, 1800) in GBIF Secretariat (2021). GBIF Backbone Taxonomy. Checklist dataset https://doi.org/10.15468/39omei accessed via GBIF.org on 2022-08-24.
Chakraborty, R. 1992. The large bandicoot rat, Bandicota indica (Bechstein). In: Prakash, I. and Ghosh, P.K., ed., Rodents in Indian agriculture, volume 1. Jodhpur, India, Scientifi c Publishers, 193–210.
Chakraborty, R. and Chakraborty, S. 1990. Food habit and feeding behaviour of the large bandicoot rat, Bandicota indica (Bechstein). Rodent Newsletter, 14, 5.
Marshall, J.T. 1977. Family Muridae. In: Lekagul, B. and McNeely, J.A., ed., Mammals of Thailand. Bangkok, Kurusapha Press, 397–487.
Tien, D.V. and Cu, H.T. 1964. Données éécologiques sur le bandicote forestier (Bandicota indica nemorivaga (Hodgson, 1836 Muridae)). Zietschrift für Säugetierkunde, 30, 185–189.
Musser, G.G. and Brothers, E.M. 1984. Identifi cation of bandicoot rats from Thailand (Bandicota, Muridae, Rodentia). American Museum Novitates, No. 3110, 1–56.
Yapa, A.; Ratnavira, G. (2013). Mammals of Sri Lanka. Colombo: Field Ornithology Group of Sri Lanka. p. 1012.
Centers for Disease Control and Prevention. 2014. Lymphocytic Choriomeningitis (LCM). Accessed on August 29, 2022, From https://www.cdc.gov/vhf/lcm/index.html
NSW Health. 2021. Staying healthy during a mouse plague. Accessed on August 29, 2022, From https://www.health.nsw.gov.au/environment/factsheets/Pages/mouse-plague.aspx
Center of Emerging and Re-emerging Infectious Diseases in Animals, Faculty of Veterinary Science Chulalongkorn University. (n.d.). Q fever. Accessed on August 29, 2022, From http://www.eidas.vet.chula.ac.th/node/382
Center of Emerging and Re-emerging Infectious Diseases in Animals, Faculty of Veterinary Science Chulalongkorn University. (n.d.). Hantavirus. Accessed on August 29, 2022, Fromchrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://www.cfsph.iastate.edu/FastFacts/th/hantavirus.pdf