หนูนาใหญ่ RICEFIELD RAT

หนูนาใหญ่ RICEFIELD RAT 

  • ชื่อสามัญ : Ricefield rat
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rattus argentiventer
  • Family : Muridae
  • Order : Rodentia

 

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา

ลักษณะทั่วไป :เป็นหนูขนาดกลาง มีความยาวของหัวรวมกับลำตัวประมาณ 30.4-40 cm. มีความยาวหาง 14–20 cm. ขนสีน้ำตาลเหลืองและสีดำสี หางสั้นกว่าหรือเท่ากับความยาวหัวและลำตัวรวมกัน ขนด้านท้องมีสีเงินออกขาวหางมีสีน้ำตาลปานกลางสม่ำเสมอ หนูชนิดนี้มีฟันหน้าเหมือนสิ่ว เพศเมียมีเต้านม 6 คู่ (3 คู่ที่ส่วนอก และ 3 คู่ที่ส่วนท้องด้านล่าง) ตาและใบหูเล็ก

 

หนูนาใหญ่มีการเจริญเติบโตทั้งหมด 3 ระยะ ประกอบด้วย

  •   ระยะตั้งครรภ์ (Gestation) : ผสมพันธุ์ตลอดทั้งปี โดยออกลูก 1-12 ครอกต่อปี ครอกละ 3-8 ตัว มีระยะเวลาประมาณ 3 สัปดาห์
  •   หย่านม (Weaning) : ประมาณ 3 สัปดาห์
  •   ระยะตัวเต็มวัย (Adult) : โดยทั่วไปมีอายุขัยประมาณ 1 ปี

 

พฤติกรรม : อาศัยอยู่เป็นกลุ่มใหญ่ที่มีลำดับชั้นทางสังคมที่ตัวผู้เป็นใหญ่ และตัวเมียเป็นใหญ่แค่ 2-3 ตัว เมื่อเผชิญหน้ากับศัตรูจะส่งเสียงดัง หวีดร้องคล้ายนกหวีด

แหล่งอาศัย : ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่เพาะปลูก เช่น นาข้าวและทุ่งหญ้า อยู่ในพื้นที่เกษตรกรรม ไร่นาของมนุษย์ อาศัยในโพรงดิน ใต้หิน และในท่อนซุง มักทำรังจากกองวัสดุที่เป็นโพรง

แหล่งอาหาร : กินอาหารได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น แมลง หอยทาก เมล็ดพืช ถั่ว ข้าว ผักและผลไม้

การแพร่กระจาย : แพร่กระจายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

การนำโรคที่เกิดจากสัตว์ฟันแทะจำพวกหนู 

  • โรคฉี่หนู (Leptospirosisเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Leptospiraที่สะสมอยู่บริเวณท่อไตของหนู การแพร่เชื้อสู่คนเกิดจากการสัมผัสปัสสาวะหรือสารคัดหลั่งของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือสัมผัสกับน้ำหรือดินที่ปนเปื้อนปัสสาวะของสัตว์ที่ติดเชื้อ
  • โรคไข้หนูกัด : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Streptobacillus moniliformesซึ่งอยู่ในช่องปาก จมูก ทางเดินหายใจส่วนต้นของสัตว์ฟันแทะจำพวกหนู โดยจะแพร่สู่คนโดยการกัดหรือข่วน เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล
  • โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (LCMV) : เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Lymphocytic choriomeningitis virus (LCMVมักเกิดจากการสัมผัสกับอุจจาระ ปัสสาวะ หรือน้ำลายของหนูที่ติดเชื้อ
  • โรค Hantavirus : เกิดจาก Hantavirus ที่ปนเปื้อนมากับอุจจาระ ปัสสาวะ และสารคัดหลั่งจากสัตว์ฟันแทะ หรือจากการกัด รับเชื้อผ่านทางผิวหนังที่มีบาดแผล รวมถึงกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ
  • โรค Q fever เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Coxiella burnetii คนมักติดโรคจากการหายใจเอาฝุ่นละอองที่ปนเปื้อนเชื้อ หรือจากการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ที่ติดเชื้อ
  • โรคติดเชื้อในทางเดินอาหาร : เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนอยู่ในมูล ปัสสาวะ หรือสารคัดหลั่งของหนู โดยจะได้รับเชื้อจากการกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ อาทิเช่น Salmonellosis, Campylobacteriosis,Cryptosporidiosis เป็นต้น
  • นอกจากนี้ยังมีโรคที่เกิดจากเห็บ หมัด และไรที่อยู่บนตัวหนู ได้แก่ โรคไข้กระตาย (Tularemia),กาฬโรค, โรคไข้กลับซ้ำ, โรคไข้รากสาดใหญ่

 

เอกสารอ้างอิง

Ruedas, L.; Aplin, K. & Lunde, D. (2008). "Rattus argentiventer". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2008. International Union for Conservation of Nature. Retrieved January 2009. Check date values in: |access-date= (help) Database entry includes a brief justification of why this species is of least concern

 Doyle, Kevin (24 August 2014). "Cambodian rat meat: A growing export market" – via www.bbc.com.

 Inder Singh, K.; Krishnasamy, M.; Ambu, S.; Rasul, R.; Chong, N. L. (1997). "Studies on animal schistosomes in Peninsular Malaysia: Record of naturally infected animals and additional hosts of Schistosoma spindale". The Southeast Asian journal of tropical medicine and public health. 28 (2): 303–307.

Barnett, S.A. 1975. The Rat: A Study in Behavior. The University of Chicago Press, Chicago.

Grizmick's Encyclopedia of Mammals. Vol.3. 1990. McGraw-Hill Publishing Company, New York.

Hamilton, N. American Mammals. 1939. McGraw-Hill Book Company Inc., New York.

Nowak, R. Walker's Mammals of the World. 5th ed. Vol II. 1991. The Johns Hopkins University Press, Baltimore.

Van Peenen, P. 1969. Preliminary Identification Manual for Mammals of South Vietnam. United States National Museum Smithsonian Institution, Washington.

Centers for Disease Control and Prevention. 2014. Lymphocytic Choriomeningitis (LCM). Accessed on August 29, 2022, From https://www.cdc.gov/vhf/lcm/index.html

NSW Health. 2021. Staying healthy during a mouse plague. Accessed on August 29, 2022, From https://www.health.nsw.gov.au/environment/factsheets/Pages/mouse-plague.aspx

Center of Emerging and Re-emerging Infectious Diseases in Animals, Faculty of Veterinary Science Chulalongkorn University. (n.d.). Q fever. Accessed on August 29, 2022, From http://www.eidas.vet.chula.ac.th/node/382

Center of Emerging and Re-emerging Infectious Diseases in Animals, Faculty of Veterinary Science Chulalongkorn University. (n.d.). Hantavirus. Accessed on August 29, 2022, Fromchrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://www.cfsph.iastate.edu/FastFacts/th/hantavirus.pdf