นกกระจอกใหญ่

นกกระจอกใหญ่

HOUSE SPARROW

  • ชื่อสามัญ : House sparrow
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Passer domesticus
  • Family : Passeridae
  • Order : Passeriformes

 

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา

ลักษณะทั่วไป :เป็นนกขนาดเล็ก มีความยาวลำตัวประมาณ 14-18 cm. ส่วนหัวกลมใหญ่ อกกว้าง ส่วนหางสั้น ปีกกว้าง (wingspans) ตั้งแต่ 19–25cm.

เพศผู้สีสดใสที่มีหัวสีเทาหม่น แก้มสีขาว ใต้คางถึงอกสีดำ และแถบคาดตาลงาที่คอมีสีน้ำตาลแดงขนตามลำตัวสีเทาหม่น

เพศเมียตัวเมียเป็นสีน้ำตาลอมเทาส่วนล่างสีน้ำตาลเทาหม่น ด้านหลังมีลายทางสีดำและสีน้ำตาลมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้คล้ายนกกระจอกตาลตัวเมีย (P. flaveorus)

 

นกกระจอกมีการเจริญเติบโต 3 ระยะ ประกอบด้วย

  • ระยะไข่ (Egg) มีระยะเวลา 10-14 สัปดาห์ ตัวเมียจะวางไข่ 1-8 ฟอง
  • นกวัยอ่อน (Juvenile) ลูกนกจะออกจากรังภายใน 14-15 วัน
  • ตัวเต็มวัย (Adult) มีอายุขัยเฉลี่ย 3-5 ปี

 

พฤติกรรม : นกกระจอกใหญ่ใช้การกระโดดมากกว่าการเดินบนพื้น ชอบอาบน้ำตามแหล่งน้ำขังริมถนนหรือเอาตัวไปคลุกฝุ่น มักแย่งอาหารบนพื้นกับนกชนิดอื่น ตัวผู้ที่มีแถบสีดำใต้คางถึงอกมากกว่าจะข่มตัวผู้ที่มีน้อยกว่า เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ตัวผู้จะเกี้ยวตัวเมียโดยการยกอกขึ้น กางปีกออกเล็กน้อย คลี่หาง และกระโดดตามตัวเมีย พลิกตัวไปด้านข้าง บางครั้งก็ก้มตัวลง บางครั้งตัวผู้ตัวอื่น ๆ ที่เห็นการแสดงดังกล่าวจะบินเข้ามาและเริ่มเกี้ยวตัวเมียด้วยเช่นกัน

แหล่งอาศัย : ไม่อยู่ในป่า อาศัยอยู่ใกล้กับแหล่งอาศัยของมนุษย์

แหล่งอาหาร : กินธัญพืชและเมล็ดพืชเป็นส่วนใหญ่ อาหารสัตว์ อาหารที่ทิ้งแล้ว ข้าวโพด ข้าวโอ๊ต ข้าวสาลีข้าวฟ่าง และหญ้าอื่น ๆ รวมถึงแมลง

การแพร่กระจาย : มีถิ่นกำเนิดในตะวันออกกลาง ปัจจุบันแพร่กระจายทั่วโลกเนื่องจากสามารถปรับตัวได้ดีทั้งเรื่องถิ่นอาศัยและอาหารการกิน

 

การนำโรค:

โรคไข้หวัดนก

เป็นการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอในสัตว์ปีกคนส่วนใหญ่ที่ป่วยหรือเสียชีวิตจากเชื้อ H5N1 ที่ทำให้เกิดโรคได้สูง ได้สัมผัสกับสัตว์ปีกที่ติดเชื้อโดยตรงทำให้มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอและปวดกล้ามเนื้อ ท้องร่วง โรคปอดบวม และโรคระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ  

SOURCE: Influenza (Avian) Fact Sheet (PDF) https://www.health.pa.gov/topics/Documents/Diseases%20and%20Conditions/Avian%20Influenza.pdf

 

โรค Cryptococcosis

Cryptococcus neoformans เป็นเชื้อราที่พบได้บ่อยในมูลนกพิราบและในดินที่ปนเปื้อนมูล ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบเรื้อรัง อาจเกิดการติดเชื้อที่ปอด ไต ต่อมลูกหมาก และกระดูก ผู้ที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องจะเพิ่มความไวต่อ cryptococcosis

 

โรค Salmonellosis

เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Salmonellaเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสและการกินน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อนมูลโดยไม่ได้ตั้งใจหรือการบริโภคเนื้อสัตว์และไข่ที่ปรุงไม่สุกจากนกที่ติดเชื้อ นกที่ติดเชื้อโรคเหล่านี้อาจมีอาการท้องร่วงและมูลที่เปลี่ยนสี แต่นกบางตัวอาจไม่แสดงอาการของโรค นกที่เลี้ยงแบบปล่อยอิสระหรือที่จับได้ตามธรรมชาติมีแนวโน้มที่จะเป็นพาหะของเชื้อเหล่านี้มากกว่านกที่เลี้ยงและเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อมักมีอาการท้องร่วง ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และอาจมีไข้ร่วมด้วย

*บ่อยครั้งที่โรคเหล่านี้ไม่ได้ทำให้นกป่วย แต่สามารถทำให้เกิดโรคร้ายแรงในมนุษย์ได้ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเรื้อรัง โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง และผู้ที่ตั้งครรภ์ อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหรือภาวะแทรกซ้อนจากโรคจากสัตว์สู่คนได้

SOURCE: Zoonoses Associated with Birdshttps://iacuc.wsu.edu/zoonoses-associated-with-birds/

 

เอกสารอ้างอิง

Dunne, P. (2006). Pete Dunne's essential field guide companion. Houghton Mifflin Harcourt, New York, USA.

Ehrlich, P. R., D. S. Dobkin, and D. Wheye (1988). The Birder's Handbook. A Field Guide to the Natural History of North American Birds, Including All Species That Regularly Breed North of Mexico. Simon and Schuster Inc., New York, NY, USA.

Lowther, Peter E. and Calvin L. Cink. (2006). House Sparrow (Passer domesticus), version 2.0. In The Birds of North America (P. G. Rodewald, editor). Cornell Lab of Ornithology, Ithaca, New York, USA.

Lutmerding, J. A. and A. S. Love. (2020). Longevity records of North American birds. Version 2020. Patuxent Wildlife Research Center, Bird Banding Laboratory 2020.

Partners in Flight. (2020). Avian Conservation Assessment Database, version 2020.

Sauer, J. R., D. K. Niven, J. E. Hines, D. J. Ziolkowski Jr., K. L. Pardieck, J. E. Fallon, and W. A. Link (2019). The North American Breeding Bird Survey, Results and Analysis 1966–2019. Version 2.07.2019. USGS Patuxent Wildlife Research Center, Laurel, MD, USA.

Sibley, D. A. (2014). The Sibley Guide to Birds, second edition. Alfred A. Knopf, New York, NY, USA.

"House Sparrow". All About Birds. Cornell Lab of Ornithology. Archived from the original on 4 December 2010

Anderson, Ted R. (2006). Biology of the Ubiquitous House Sparrow: from Genes to Populations. Oxford: Oxford University Press, pp. 5, 9–12

Summers-Smith, J. Denis (1988). The Sparrows. illustrated by Robert Gillmor. Calton, Staffs, England: T. & A. D. Poyser, pp. 129–137, 280–283

Potter, E. F. (1970). "Anting in wild birds, its frequency and probable purpose" (PDF). Auk. 87 (4): 692–713.

Anderson, Ted R. (2006). Biology of the Ubiquitous House Sparrow: from Genes to Populations. Oxford: Oxford University Press.

 

...................................................................................................... 

*** สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม *** 

Tel : 02-374-7118-9, 02-377-2488, 02-377-9580, 02-375-1995
e-mail : customercare@unicorgroup.com
website : www.unicorgroup.com