นกกระจอกป่าท้องเหลือง
นกกระจอกป่าท้องเหลือง
RUSSET SPARROW
- ชื่อสามัญ : Russet sparrow
- ชื่อวิทยาศาสตร์ : Passer cinnamomeus
- Family : Passeridae
- Order : Passeriformes
ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา
ลักษณะทั่วไป :มีความยาวลำตัวประมาณ 14-15 cm.
เพศผู้ : นกกระจอกป่าท้องเหลืองตัวผู้ ส่วนหัวด้านบนและหลังมีสีน้ำตาลแดง แก้มขาว ส่วนคอดำแคบ และท้องมีสีเทาซีดมีความยาวปีก (wingspans)6.8-8.2 cm.
เพศเมีย : ตัวเมียมีสีน้ำตาลอมเทามีลายกว้างด้านบน ด้านล่างสีซีด บนปีกมีเส้นตัดกันตรงกลาง (wing bars) สีขาว และคิ้ว (supercilium) สีน้ำตาลแทนมีความยาวปีก (wingspans) 6.7-7.7 cm.
นกกระจอกมีการเจริญเติบโต 3 ระยะ ประกอบด้วย
- ระยะไข่ (Egg) มีระยะเวลา 2 สัปดาห์ ตัวเมียจะวางไข่ 2-4 ฟอง
- นกวัยอ่อน (Juvenile) ลูกนกจะออกจากรังภายใน 14-15 วัน
- ตัวเต็มวัย (Adult) มีอายุขัยเฉลี่ย 3 ปี
* อ้างอิงจากอายุขัยของนกในวงศ์ Passeridae
พฤติกรรม : มีพฤติกรรมคล้ายนกกระจอกบ้านและนกกระจอกใหญ่ ชอบเกาะพักอยู่บนกิ่งไม้โล่ง ๆ มีนิสัยขี้อายและขี้ระแวงในระหว่างฤดูหนาวจะอยู่ห่างจากแหล่งอาศัยของมนุษย์ ฤดูผสมพันธุ์สั้นประมาณ 3 เดือน ไม่อยู่รวมกันเป็นฝูง ตัวผู้เลือกพื้นที่ทำรังและแสดงการเกี้ยวตัวเมียโดยการเงยหัว หลบปีก ดันหน้าอกไปข้างหน้า และลดหางลง และจะบินหนีไปหากไม่ตอบรับ ทั้งสองเพศมีส่วนร่วมในการสร้างรัง นอกฤดูผสมพันธุ์จะอยู่รวมกันเป็นฝูง
แหล่งอาศัย : อยู่ตามป่าเขา หรือใกล้แหล่งเพาะปลูก พื้นที่เกษตรกรรม ทำรังตามโพรงต้นไม้ ชายคา หลังคามุง กำแพงหิน หรือใช้รังร้างจากนกตัวอื่น
แหล่งอาหาร : กินเมล็ดพืช เมล็ดพืชสมุนไพรและวัชพืช ตลอดจนข้าว ข้าวบาร์เลย์ และธัญพืชอื่น ๆ ผลเบอร์รี่รวมถึงแมลง ตัวหนอน ตัวอ่อนแมลงที่อยู่บนต้นไม้ หรือแมลงบินที่จับได้ระหว่างบิน
การแพร่กระจาย : แพร่กระจายในทวีปเอเชียจีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีเหนือ, เกาหลีใต้, ไต้หวัน, รัสเซีย, อินเดีย, ภูฏาน, ลาว, พม่า, เนปาล, ไทย, เวียดนาม, ปากีสถาน ในเขตอบอุ่น
การนำโรค:
โรคไข้หวัดนก
เป็นการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอในสัตว์ปีกคนส่วนใหญ่ที่ป่วยหรือเสียชีวิตจากเชื้อ H5N1 ที่ทำให้เกิดโรคได้สูง ได้สัมผัสกับสัตว์ปีกที่ติดเชื้อโดยตรงทำให้มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอและปวดกล้ามเนื้อ ท้องร่วง โรคปอดบวม และโรคระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ
SOURCE:Influenza (Avian) Fact Sheet (PDF) https://www.health.pa.gov/topics/Documents/Diseases%20and%20Conditions/Avian%20Influenza.pdf
โรค Cryptococcosis
Cryptococcus neoformans เป็นเชื้อราที่พบได้บ่อยในมูลนกพิราบและในดินที่ปนเปื้อนมูล ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบเรื้อรัง อาจเกิดการติดเชื้อที่ปอด ไต ต่อมลูกหมาก และกระดูก ผู้ที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องจะเพิ่มความไวต่อ cryptococcosis
โรค Salmonellosis
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Salmonellaเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสและการกินน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อนมูลโดยไม่ได้ตั้งใจหรือการบริโภคเนื้อสัตว์และไข่ที่ปรุงไม่สุกจากนกที่ติดเชื้อ นกที่ติดเชื้อโรคเหล่านี้อาจมีอาการท้องร่วงและมูลที่เปลี่ยนสี แต่นกบางตัวอาจไม่แสดงอาการของโรค นกที่เลี้ยงแบบปล่อยอิสระหรือที่จับได้ตามธรรมชาติมีแนวโน้มที่จะเป็นพาหะของเชื้อเหล่านี้มากกว่านกที่เลี้ยงและเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อมักมีอาการท้องร่วง ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และอาจมีไข้ร่วมด้วย
*บ่อยครั้งที่โรคเหล่านี้ไม่ได้ทำให้นกป่วย แต่สามารถทำให้เกิดโรคร้ายแรงในมนุษย์ได้ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเรื้อรัง โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง และผู้ที่ตั้งครรภ์ อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหรือภาวะแทรกซ้อนจากโรคจากสัตว์สู่คนได้
SOURCE: Zoonoses Associated with Birdshttps://iacuc.wsu.edu/zoonoses-associated-with-birds/
เอกสารอ้างอิง
Ali, S.; Ripley, S. Dillon (1999). Handbook of the birds of India and Pakistan, together with those of Bangladesh, Nepal, Bhutan, and Sri Lanka. Vol. 10 (2nd ed.). Delhi: Oxford University Press, pp. 78–79
Summers-Smith, J. Denis (1988). The Sparrows: a study of the genus Passer. illustrated by Robert Gillmor. Calton, Staffs, England: T. & A. D. Poyser, pp. 212–14
Kotaka, Nobuhiko; Matsuoka, Shigeru (2002). "Secondary users of Great Spotted Woodpecker (Dendrocopos major) nest cavities in urban and suburban forests in Sapporo City, northern Japan" (PDF). Ornithological Science. 1 (2): 117–122
Chae, Hee-Young (1997). "Variations in Fledging Body Weight and Wing Length of Russet Sparrow Passer rutilans in Two Different Habitats". Japanese Journal of Ornithology. 45 (4): 215–225.
Baker, E. C. Stuart (1926). Fauna of British India: Birds. Vol. III (2nd ed.). London: Taylor and Francis, p.181
Summers-Smith, J. Denis (1992). In Search of Sparrows. illustrated by Euan Dunn. London: T. & A. D. Poyser, pp. 100–103
Summers-Smith, J. Denis (1988). The Sparrows: a study of the genus Passer. illustrated by Robert Gillmor. Calton, Staffs, England: T. & A. D. Poyser, pp. 211-212
Clement, Peter; Harris, Alan; Davis, John (1993). Finches and Sparrows: an Identification Guide. Princeton, New Jersey: Princeton University Press, pp. 450-451
Roberts, Tom J. (1992). The Birds of Pakistan. Volume 2: Passeriformes: Pittas to Buntings. Oxford University Press, pp. 480-481
Vaughan, R. E.; Jones, K. H. (1913). "On the Birds of South-eastern China IV". The Ibis. 10th series. 1,pp.168-169
Summers-Smith, J. Denis (1988). The Sparrows: a study of the genus Passer. illustrated by Robert Gillmor. Calton, Staffs, England: T. & A. D. Poyser, p. 214
Chae, Hee-Young (1997). "Feeding Behavior of the Russet Sparrow Passer rutilans in Two Different Habitats" (PDF). Korean Journal of Ecology. 20 (6): 405–411. Archived from the original (PDF) on 26 October 2011.
Summers-Smith, J. Denis (1988). The Sparrows: a study of the genus Passer. illustrated by Robert Gillmor. Calton, Staffs, England: T. & A. D. Poyser, pp. 206-210
Robson, Craig (2004). A Field Guide to the Birds of Thailand. New Holland Press, p.125
Summers-Smith, J. Denis (1988). The Sparrows: a study of the genus Passer. illustrated by Robert Gillmor. Calton, Staffs, England: T. & A. D. Poyser, pp. 205-206
Summers-Smith, J. Denis (2009). "Family Passeridae (Old World Sparrows)". In del Hoyo, Josep;
......................................................................................................
*** สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ***
Tel : 02-374-7118-9, 02-377-2488, 02-377-9580, 02-375-1995
e-mail : customercare@unicorgroup.com
website : www.unicorgroup.com