นกกระจอกบ้าน
นกกระจอกบ้าน
EURASIAN TREE SPARROW
- ชื่อสามัญ : Eurasian tree sparrow
- ชื่อวิทยาศาสตร์ : Passer montanus
- Family : Passeridae
- Order : Passeriformes
ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา
ลักษณะทั่วไป :นกกระจอกบ้านเป็นนกขนาดเล็ก มีความยาวลำตัวประมาณ 12.5-14 cm. ช่วงปีกกว้าง 21 cm. ส่วนหัวมีขนาดใหญ่ คอสั้น ปีกสั้น ส่วนหัวด้านบนและต้นคอมีสีน้ำตาลเข้ม แก้มขาว มีแต้มสีดำข้างแก้ม คาง และคอ ส่วนบนสีน้ำตาลอ่อนลายดำ ปีกสีน้ำตาลมีแถบสีขาวแคบ ๆ สองแถบ ขาเป็นสีน้ำตาลอ่อน และปากเป็นกรวยอ้วนสั้น มีสีน้ำเงินจากปลายในฤดูร้อนและกลายเป็นเกือบดำในฤดูหนาว นกวัยอ่อนคล้ายตัวเต็มวัยแต่มีสีทึบกว่า
นกกระจอกมีการเจริญเติบโต 3 ระยะ ประกอบด้วย
- ระยะไข่ (Egg) : มีระยะเวลา 2 สัปดาห์ ตัวเมียจะวางไข่ 4-7 ฟอง
- นกวัยอ่อน (Juvenile) : ลูกนกจะออกจากรังภายใน 15-18 วัน
- ตัวเต็มวัย (Adult) : มีอายุขัยเฉลี่ย 3 ปี
พฤติกรรม : ผสมพันธุ์ครั้งแรกเมื่ออายุได้ประมาณ 1 ปี ในฤดูผสมพันธุ์ ตัวผู้จะเกี้ยวตัวเมียโดยการส่งเสียงร้องใกล้ ๆ รังพร้อมสั่นปีกและหาง ก้มหัวไปด้านหน้า เพื่อดึงดูดตัวเมีย เมื่อมีผู้บุกรุก ตัวผู้จะปกป้องรังและปกป้องตัวเมียจากผู้บุกรุก
แหล่งอาศัย : ตัวผู้จะเลือกบริเวณที่ทำรังซึ่งอาจเป็นโพรงในต้นไม้ อาคาร เสา รั้ว หรือกล่อง รังส่วนใหญ่สูงกว่า 3 ฟุต และไม่เกิน 30 ฟุต อาศัยอยู่ตามพุ่มไม้ พื้นที่ป่าโปร่ง หมู่บ้าน สวนสาธารณะที่มีไม้ประดับ
แหล่งอาหาร : เมล็ดพืช ผลไม้ ดอกไม้ หากินบนพื้นดินบริเวณพื้นที่เกษตรกรรมกินข้าวโอ๊ต ข้าวไรย์ ข้าวสาลี ข้าวโพด ทานตะวันและข้าวฟ่าง ในฤดูใบไม้ผลิกินแมลงและสัตว์ขาปล้องจำนวนมาก (ไร เห็บ แมงมุม)
การแพร่กระจาย : แพร่กระจายตามธรรมชาติอยู่ในยุโรปและเอเชียใต้ และผ่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลงไปถึงเกาะชวาและบาหลีโดยมากมักจะพบในเขตอากาศอบอุ่นนกชนิดนี้เป็นนกประจำถิ่น แต่ประชากรในตอนเหนือสุดของเขตการกระจายพันธุ์จะมีการอพยพลงใต้ในฤดูหนาว
การนำโรค:
โรคไข้หวัดนก
เป็นการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอในสัตว์ปีกคนส่วนใหญ่ที่ป่วยหรือเสียชีวิตจากเชื้อ H5N1 ที่ทำให้เกิดโรคได้สูง ได้สัมผัสกับสัตว์ปีกที่ติดเชื้อโดยตรงทำให้มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอและปวดกล้ามเนื้อ ท้องร่วง โรคปอดบวม และโรคระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ
SOURCE: Influenza (Avian) Fact Sheet (PDF) https://www.health.pa.gov/topics/Documents/Diseases%20and%20Conditions/Avian%20Influenza.pdf
โรค Cryptococcosis
Cryptococcus neoformans เป็นเชื้อราที่พบได้บ่อยในมูลนกพิราบและในดินที่ปนเปื้อนมูล ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบเรื้อรัง อาจเกิดการติดเชื้อที่ปอด ไต ต่อมลูกหมาก และกระดูก ผู้ที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องจะเพิ่มความไวต่อ cryptococcosis
โรค Salmonellosis
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Salmonellaเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสและการกินน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อนมูลโดยไม่ได้ตั้งใจหรือการบริโภคเนื้อสัตว์และไข่ที่ปรุงไม่สุกจากนกที่ติดเชื้อ นกที่ติดเชื้อโรคเหล่านี้อาจมีอาการท้องร่วงและมูลที่เปลี่ยนสี แต่นกบางตัวอาจไม่แสดงอาการของโรค นกที่เลี้ยงแบบปล่อยอิสระหรือที่จับได้ตามธรรมชาติมีแนวโน้มที่จะเป็นพาหะของเชื้อเหล่านี้มากกว่านกที่เลี้ยงและเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อมักมีอาการท้องร่วง ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และอาจมีไข้ร่วมด้วย
*บ่อยครั้งที่โรคเหล่านี้ไม่ได้ทำให้นกป่วย แต่สามารถทำให้เกิดโรคร้ายแรงในมนุษย์ได้ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเรื้อรัง โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง และผู้ที่ตั้งครรภ์ อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหรือภาวะแทรกซ้อนจากโรคจากสัตว์สู่คนได้
SOURCE: Zoonoses Associated with Birdshttps://iacuc.wsu.edu/zoonoses-associated-with-birds/
เอกสารอ้างอิง
Arlott, Norman (2007). Birds of the Palearctic: Passerines. London: Collins, p.222
Clement, Peter; Harris, Alan; Davis, John (1993). Finches and Sparrows: An Identification Guide. Christopher Helm,pp. 463–465
Mullarney, Killian; Svensson, Lars; Zetterstrom, Dan; Grant, Peter (1999). Collins Bird Guide. London: HarperCollins, P.342
Mullarney, Killian; Svensson, Lars; Zetterstrom, Dan; Grant, Peter (1999). Collins Bird Guide. London: HarperCollins, p.343
Raju, K.; Krishna, S. R.; Price, Trevor D. (1973). "Tree Sparrow Passer montanus (L.) in the Eastern Ghats". Journal of the Bombay Natural History Society. 70 (3): 557–558.
Rasmussen, Pamela C.; Anderton, John C. (2005). Birds of South Asia: The Ripley Guide. Washington: Smithsonian Institution Press and Lynx Edicions. ISBN 84-87334-67-9.
Barlow, Jon C., Sheridan N. Leckie, Peter Pyle and Michael A. Patten. (2017). Eurasian Tree Sparrow (Passer montanus), version 2.1. In The Birds of North America (P. G. Rodewald, editor). Cornell Lab of Ornithology, Ithaca, New York, USA.
Lutmerding, J. A. and A. S. Love. (2020). Longevity records of North American birds. Version 2020. Patuxent Wildlife Research Center, Bird Banding Laboratory 2020.
Partners in Flight (2017). Avian Conservation Assessment Database. 2017.
Sauer, J. R., D. K. Niven, J. E. Hines, D. J. Ziolkowski Jr., K. L. Pardieck, J. E. Fallon, and W. A. Link (2017). The North American Breeding Bird Survey, Results and Analysis 1966–2015. Version 2.07.2017. USGS Patuxent Wildlife Research Center, Laurel, MD, USA.
Sibley, D. A. (2014). The Sibley Guide to Birds, second edition. Alfred A. Knopf, New York, NY, USA.
......................................................................................................
*** สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ***
Tel : 02-374-7118-9, 02-377-2488, 02-377-9580, 02-375-1995
e-mail : customercare@unicorgroup.com
website : www.unicorgroup.com