ด้วง ถั่วแดง BEAN WEEVIL

ด้วง ถั่วแดง BEAN WEEVIL

  • ชื่อสามัญ : Bean weevil
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acanthoscelides obtectus (Say)
  • Family : Chrysomelidae
  • Order : Coleoptera

 

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา

ลักษณะหนวด : แบบกึ่งฟันเลื่อย (subserrate)

ลักษณะปีก : ปีกคู่หน้าเป็นแบบแข็ง (Elytra) ปีกคู่หลังเป็นแบบ membrane ลักษณะบางใส

ลักษณะปาก : แบบกัดกิน (chewing type)

ลักษณะขา : แบบขาเดิน (walking leg) โคนขาหลัง (hind femur) ตรงสันด้านในใกล้ข้อต่อจะมีฟันขนาดใหญ่ 1 ซี่ และฟันขนาดเล็กแหลม 2-3 ซี่

ลักษณะทั่วไป : ตัวเต็มวัยของด้วงถั่วแดงมีขนาดของลำตัวอยู่ที่ 3.0 – 4.5 mm. มีสีเทาอมน้ำตาลและสีน้ำตาล ไม่มีลวดลาย ลำตัวเรียวแคบไปทางส่วนหัว หัวเล็กและงุ้มเข้าหาส่วนอก มีขนที่ปกคลุมส่วนอกและปีกคู่แรกสีเหลืองอมเทา มีจุดประกระจัดกระจายสีน้ำตาลเข้ม เมื่อมองทางด้านข้างสุดปลายท้องของเพศเมียปลายปีกยื่นเลยไปมากกว่าเพศผู้

 

ด้วงถั่วแดง มีการเจริญเติบโตแบบ complete metamorphosis ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • ระยะไข่ (egg) : มีระยะเวลา 5-6 วัน วางไข่ได้ 100-200 ฟอง โดยวางกระจัดกระจายตามช่องว่างหรือรอยแตกของผิวเมล็ด ไข่มีลักษณะยาวรีสีขาวนวล
  • ตัวอ่อน (larva) : มีระยะเวลา 20-27 วัน
  • ดักแด้ (pupa) : มีระยะเวลา 6-11 วัน
  • ตัวเต็มวัย (adult) : มีอายุไขประมาณ 7-14 วัน

 

แหล่งอาหาร : ถั่วแดงหลวง  ถั่วเขียว  ถั่วพุ่ม ถั่วฝักยาว และถั่วไลมา

ลักษณะการทำลาย : ตัวเต็มวัยเพศวางไข่ระหว่างช่องว่าของเมล็ดหรือตามรอยแตก เมื่อตัวหนอนฟักตัวออกมาจะกัดกินและเจาะเข้าเปลือกเมล็ดถั่วและกัดทำลายภายในเมล็ด  เมื่อใกล้เข้าดักแด้หนอนจะทำทางสำหรับให้ตัวเต็มวัยออก โดยกินใบเลี้ยงจนถึงเปลือกหุ้มเมล็ดซึ่งจะเป็นเยื่อบาง ๆ คล้ายหน้าต่าง แล้วจึงเข้าดักแด้ ตัวเต็มวัยจะกัดเปลือกเมล็ดถั่วตรงหน้าต่างออกสู่ภายนอกเมล็ด 

การแพร่กระจาย : แพร่ระบาดมากในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ยกเว้นประเทศออสเตรเลีย

 

วิธีการป้องกันควบคุม

  • ควรทำความสะอาดพื้นอาคารอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดแหล่งอาหารที่ตกอยู่ตามพื้น และแหล่งหลบซ่อนตามซอกมุมต่าง ๆ เช่น ตามมุมของโคนเสา ตู้ควบคุมวงจรไฟฟ้า เป็นต้น
  • ควบคุมอุณหภูมิโดยการใช้ความร้อนหรือเย็นจัดเพื่อให้แมลงหยุดการเจริญเติบโตและบางชนิดตายไป
  • ทำการอบแก๊ส Fumigate วัตถุดิบก่อนที่จะนำเข้ามาเก็บไว้ และ Fumigate สินค้าที่รอ Reject เพื่อป้องกัน การแพร่พันธุ์ของแมลงในโรงเก็บ กระจายไปในพื้นที่ใกล้เคียงได้
  • ไม่เก็บวัตถุดิบไว้เป็นเวลานาน เพื่อไม่ไห้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์หรือแหล่งสะสมของแมลงในโรงเก็บ
  • ใช้สถานีฟีโรโมน Pheromone trap เพื่อกำจัดตัวเต็มวัยและเป็นตัว monitor การระบาดและการแพร่กระจายของแมลง

 

เอกสารอ้างอิง

พรทิพย์ วิสารทานนท์, พรรณเพ็ญ ชโยภาส, ใจทิพย์ อุไรชื่น, รังสิมา เก่งการพานิช, กรรณิการ์ เพ็งคุ้ม, จิราภรณ์ ทองพันธ์, ดวงสมร สุทธิสุทธิ์, ลักขณา ร่มเย็น, ภาวินี หนูชนะภัย, อัจฉรา เพชรโชติ. (2551). แมลงที่พบในผลิตผลเกษตรและการป้องกันกำจัด. กลุ่มวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร กรมวิชาการเกษตร

 

...................................................................................................... 

*** สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม *** 

Tel : 02-374-7118-9, 02-377-2488, 02-377-9580, 02-375-1995
e-mail : customercare@unicorgroup.com
website : www.unicorgroup.com