ด้วง คาเดล CADELLE BEETLE

ด้วงคาเดล CADELLE BEETLE

  • ชื่อสามัญ: Cadelle beetle        
  • ชื่อวิทยาศาสตร์: Tenebroides mauritanicus(Linnaeus)
  • Family: Trogossitidae
  • Order: Coleoptera

 

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา

ลักษณะหนวด : แบบกระบอง (clavate)

ลักษณะปีก : ปีกคู่หน้าเป็นแบบแข็ง (Elytra) มีลักษณะเรียบและมีร่องยาวตามแนวยาวของปีก ปีกคู่หลังเป็นแบบ membrane ลักษณะบางใส

ลักษณะปาก : แบบกัดกิน (chewing type)

ลักษณะขา : แบบขาเดิน (walking leg)

ลักษณะทั่วไป : ตัวเต็มวัยของด้วงคลาเดลมีขนาดของลำตัวอยู่ที่ 5.0 – 11.0 mm มีสีดำ ลำตัวแวววาว ลักาณะเด่นของด้วงชนิดนี้คือ ส่วนหัวและส่วนอกอยู่ติดกันเหมือนเป็นส่วนเดียวกัน โดยมีรอยต่อระหว่างส่วนอกกับส่วนท้องคอดกิ่วคล้ายเอว บริเวณอก (thorax) มีลักษณะเรียบขอบไม่มีหยัก แต่มีลักษณะแหลมโค้งเล็กน้อยบริเวณด้านบนสุดของอกทั้งสองข้าง

 

ด้วงคาเดล มีการเจริญเติบโตแบบ complete metamorphosis ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • ระยะไข่ (egg)  ใช้เวลา 7-10 วัน ตัวเมียวางไข่ได้สูงสุด 1,000 ฟอง ไข่มีลักษณะยาวรี
  • ตัวอ่อน (larva) มีระยะเวลา 43 วัน หนอนมีลักษณะลำตัวแบนสีขาวอมเทา ลอกคราบ 3-7 ครั้ง
  • ดักแด้ (pupa) มีระยะเวลา 7 วัน
  • ตัวเต็มวัย (adult) มีอายุไขเฉลี่ย 1-3 ปี ระยะการเจริญเติบโตจากไข่ถึงตัวเต็มวัยใช้เวลา 2 เดือน

 

แหล่งอาหาร : ธัญพืช พืชน้ำมัน (วงศ์ Palmae, Oleaceae, Compositae, Gramineae)

ลักษณะการทำลาย : ตัวเต็มวัยชอบวางไข่ในช่องว่างระหว่างเมล็ด หรือตามรอยแตกแยกของเนื้อไม้ ตัวหนอนทำลายเมล็ดตรงจุดงอก หนอนวัยสุดท้ายเจาะเข้าไปในเนื้ออ่อน และทำรูเพื่อเข้าดักแด้ภายในนั้น ทั้งตัวเต็มวัยและตัวหนอนสามารถทนอยู่ในอากาศได้ นอกจากนี้ด้วงชนิดนี้ยังเป็นตัวห้ำทำลายแมลงศัตรูผลิตผลเกษตรชนิดอื่นอีกด้วย

การแพร่กระจาย : พบระบาดอยู่ทั่วโลก

 

วิธีการป้องกันควบคุม

  • กำจัดผลิตผลที่พบแมลงเข้าทำลาย ป้องกันแหล่งแมลงทำลายในผลผลิตใหม่
  • สังเกตแมลงหรือตัวอ่อนหากพบให้ทำการป้องกันกำจัดโดยฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลง บริเวณแหล่งเกาะพัก แหล่งเพาะพันธุ์

 

เอกสารอ้างอิง

พรทิพย์ วิสารทานนท์, พรรณเพ็ญ ชโยภาส, ใจทิพย์ อุไรชื่น, รังสิมา เก่งการพานิช, กรรณิการ์ เพ็งคุ้ม, จิราภรณ์ ทองพันธ์, ดวงสมร สุทธิสุทธิ์, ลักขณา ร่มเย็น, ภาวินี หนูชนะภัย, อัจฉรา เพชรโชติ. (2551). แมลงที่พบในผลิตผลเกษตรและการป้องกันกำจัด. กลุ่มวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร กรมวิชาการเกษตร

 

...................................................................................................... 

 

*** สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม *** 

 

Tel : 02-374-7118-9, 02-377-2488, 02-377-9580, 02-375-1995
e-mail : customercare@unicorgroup.com
website : www.unicorgroup.com