ด้วง ขาโต TAMARIND SEED BEETLE

ด้วงขาโต TAMARIND SEED BEETLE

  • ชื่อสามัญ : Tamarind seed beetle                     
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caryedon serratus(Olivier)
  • Family : Bruchidae
  • Order : Coleoptera

 

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยา

ลักษณะหนวด : แบบกึ่งฟันเลื่อย (subserrate)

ลักษณะปีก : ปีกคู่หน้าเป็นแบบแข็ง (Elytra) มีขนปกคลุม ปีกคู่หลังเป็นแบบ membrane ลักษณะบางใส

ลักษณะปาก : แบบกัดกิน (chewing type)

ลักษณะขา : แบบขาเดิน (walking leg) ลักษณะเด่นของด้วงขาโตคือ femur ของขาคู่ที่ 3 ใหญ่มาก ขอบด้านในเป็นฟันเลื่อย และ tibia ของขาคู่ที่ 3 โค้งงอ

ลักษณะทั่วไป : ตัวเต็มวัยของด้วงขาโตมีขนาดใหญ่มาก เมื่อเทียบกับถั่วในวงศ์ Bruchidae ด้วยกัน ขนาดของลำตัวอยู่ที่ 5.0 – 8.0 mm.

 

ด้วงขาโตมีการเจริญเติบโตแบบ complete metamorphosis ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • ระยะไข่ (egg) : จะวางไข่เป็นฟองเดี่ยวบนผิวเมล็ด ใช้เวลา 5-6 วัน
  • ตัวอ่อน (larva) : มีระยะเวลา 21 วัน เมื่อฟักจะเจาะผิวเมล็ดลงไปกัดกินอยู่ภายใน
  • ดักแด้ (pupa) : มีระยะเวลา 20-25 วัน หนอนจะเจาะเมล็ดออกมาเข้าดักแด้ภายนอกโดยสร้าง cocoon หุ้มไว้
  • ตัวเต็มวัย (adult) : มีอายุไขเฉลี่ย 6 เดือน วงจรชีวิตใช้เวลา 47-68 วัน

 

แหล่งอาหาร : มะขามหวาน มะขามเปรี้ยว เมล็ดคูณ และเมล็ดกัลปพฤกษ์

ลักษณะการทำลาย : เป็นศัตรูทำลายถั่วลิสงและเมล็ดมะขาม โดยทำลายฝักมะขามตั้งแต่ระยะก่อนเก็บเกี่ยวตัวหนอนจะกัดกินเมล็ดมะขามทำให้เป็นรู ทำให้เสียคุณภาพ เนื่องจากมีมูลออกมาปนเปื้อนและมีปลอกหุ้มดักแด้ (cocoon) อยู่ในฝักนั้น ๆ

การแพร่กระจาย : แพร่ระบาดในเขตร้อนและเขตอบอุ่น

 

วิธีการป้องกันควบคุม

  • ควบคุมอุณหภูมิโดยการใช้ความร้อนหรือเย็นจัดเพื่อให้แมลงหยุดการเจริญเติบโตและบางชนิดตายไป
  • กำจัดผลิตผลที่พบแมลงเข้าทำลาย ป้องกันแหล่งแมลงทำลายในผลผลิตใหม่
  • ทำการอบแก๊ส Fumigate วัตถุดิบก่อนที่จะนำเข้ามาเก็บไว้ และ Fumigate สินค้าที่รอ Reject เพื่อป้องกัน การแพร่พันธุ์ของแมลงในโรงเก็บ กระจายไปในพื้นที่ใกล้เคียงได้
  • ไม่เก็บวัตถุดิบไว้เป็นเวลานาน เพื่อไม่ไห้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์หรือแหล่งสะสมของแมลงในโรงเก็บ
  • ใช้สถานีฟีโรโมน Pheromone trap เพื่อกำจัดตัวเต็มวัยและเป็นตัว monitor การระบาดและการแพร่กระจายของแมลง

 

เอกสารอ้างอิง

พรทิพย์ วิสารทานนท์, พรรณเพ็ญ ชโยภาส, ใจทิพย์ อุไรชื่น, รังสิมา เก่งการพานิช, กรรณิการ์ เพ็งคุ้ม, จิราภรณ์ ทองพันธ์, ดวงสมร สุทธิสุทธิ์, ลักขณา ร่มเย็น, ภาวินี หนูชนะภัย, อัจฉรา เพชรโชติ. (2551). แมลงที่พบในผลิตผลเกษตรและการป้องกันกำจัด. กลุ่มวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร กรมวิชาการเกษต

 

...................................................................................................... 

*** สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม *** 

Tel : 02-374-7118-9, 02-377-2488, 02-377-9580, 02-375-1995
e-mail : customercare@unicorgroup.com
website : www.unicorgroup.com