จิ้งจกบ้าน หางเรียบ

จิ้งจกบ้าน หางเรียบ

GARNOT’S HOUSE GECKO

  • ชื่อสามัญ : Garnot's house gecko
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hemidactylus platyurus
  • Family : Gekkonidae
  • Order : Squamata

 

ลักษณะทั่วไป

จิ้งจกบ้านหางเรียบเมื่อโตเต็มวัยมีขนาด SVL (Snout-to-Vent) ปลายจมูกถึงรูทวาร ประมาณ 7-7.5cm. มีลักษณะและพฤติกรรมเหมือนจิ้งจกบ้านหางหนาม (H. frenatus) แตกต่างกันที่ส่วนหางมีลักษณะเรียบ และหน้าแหลมยาว กว่า H. frenatus มักมีสีขาว ๆ พอกที่บริเวณคอ (calcium deposit) ตัวเต็มวัยมีขนาดลำตัวยาว 3-5 นิ้ว (7.5-15 cm.) มีสีน้ำตาลอ่อนจนถึงเข้ม หากเมื่อเกาะกับวัสดุที่มีสีอ่อนหรือมีแสงสว่าง จะเปลี่ยนสีลำตัวออกไปทางเหลืองอ่อน เท้าคู่หน้ามี 5 นิ้ว ส่วนเท้าคู่หลังมี 4 นิ้ว บริเวณฝ่าเท้ามีปุ่มดูด (toe pads) ทำให้สามารถดูดติดกับผนังได้ บริเวณด้านใต้คางมีเกล็ดเรียบอยู่ติดกับปาก (infralabials) และเกล็ดด้านใน 2 คู่ (chin shields) และอาจมีตุ่มขนาดเล็ก (tubercles) กระจายอยู่ด้านหลัง ส่วนหางสามารถงอกใหม่ได้ ใช้เวลา 2-6 สัปดาห์

 

จิ้งจกบ้านมีการเจริญเติบโตแบบ (Ametamorphosis) คือไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ตัวอ่อนมีลักษณะเหมือนตัวเต็มวัย เพียงแต่มีขนาดเล็กกว่า

  • ระยะไข่ (Egg) : มีระยะเวลา 22-68 วัน (เฉลี่ย = 56 วัน) ตัวเมียวางไข่ตามซอกหลืบ เป็นไข่ที่มีเปลือกหนาและไม่ยึดติดกับพื้นผิว ครั้งละ 2 ฟอง กว้าง 5-9 mm. ยาว 6-10 mm. : มีสีขาวคล้ายไข่เป็ด การผสมพันธุ์เกิดขึ้นบ่อยที่สุดระหว่างเดือนสิงหาคมถึงธันวาคม แต่สามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี
  • ตัวอ่อน (Juvenile) : ลักษณะเหมือนตัวเต็มวัย แต่มีขนาดเล็กกว่า
  • ตัวเต็มวัย (Adult) : มีอายุขัยประมาณ 3-5 ปี*

*อ้างอิงจากอายุขัยของ  Hemidactylus frenatus

 

พฤติกรรม : เป็นจิ้งจกที่เพศเมียสามารถออกไข่และฟักเป็นตัวได้โดยไม่ต้องมีเพศผู้ช่วยผสมพันธุ์ (Parthenogenesis) ประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศเมีย มีรายงานพบเพศผู้น้อยมาก ในประเทศไทย พบได้ในหลายพื้นที่แต่มักมีจำนวนไม่มาก

แหล่งอาหาร : แมลงตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงใหญ่และแมงมุม

แหล่งอาศัย : มักพบตามบ้านหรืออาคาร บริเวณที่ติดกับป่า โดยเฉพาะบนพื้นที่สูง

การแพร่กระจาย : พบได้ทั่วไปในประเทศแถบเอเชีย

การนำโรค : ในลำไส้ของจิ้งจกมีเชื้อซาลโมเนลลา (Salmonellasp.) ซึ่งเชื้อแบคทีเรียนี้จะปะปนมากับมูลหรือของเสียที่ขับออกมาจากร่างกาย หากเผลอไปรับประทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนมูลที่มีเชื้อซาลโมเนลลา ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี และอายุมากกว่า 65 ปี หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมถึงหญิงตั้งครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสทั้งทางตรงและทางอ้อม

 *เชื้อซาลโมเนลลา (Salmonella sp.) เป็นเชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่สำคัญของมนุษย์ ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อเข้าไปจะทำให้เป็นโรค Salmonellosis ทำให้มีอาการเป็นไข้ ท้องร่วง หรือท้องเสีย  SOURCE: A study on the presence of Salmonella spp. in house geckos (Hemidactylus frenatus) https://www.researchgate.net/publication/257310675_A_study_on_the_presence_of_Salmonella_spp_in_house_geckos_Hemidactylus_frenatus

 

เอกสารอ้างอิง

Knotsnake. (2010). Species : Hemidactylus garnotii. Accessed on August 15, 2022, from http://siamensis.org/species_index?nid=3773#3773--Species%20:%20Hemidactylus%20garnotii

Arnafia W., Ningrum S. G., Adji R. S., Lukman D. W., Pasaribu F. H., Wibawan I. W. T.2016. Isolation of Salmonella from reptiles in pet shop and its susceptibility to antibiotics in Indonesia. H.V.M. Bioflux Scociety 8: 177–181.

Cheng B. Y., Siew P. W., Gary A. D.2014. Salmonella associated with captive and wild lizards in Malaysia. Herpetol. Notes 7: 145–147.

Anjos, L., C. Rocha. 2008. Reproductive ecology of the invader species gekkonid lizard Hemidactylus mabouia in an area of southeastern Brazil. Iheringia. Série Zoologia, 98/2: 205-209.

Myeres, G. 1945. A natural habitat of the house gecko in Brazil. Copeia, 1945/2: 120.

Rocha, C., L. Anos. 2007. Feeding ecology of a nocturnal invasive alien lizard species, Hemidactylus mabouia Moreau de Jonnès, 1818 (Gekkonidae), living in an outcrop rocky area in southeastern Brazil. Brazilian Journal of Biology, 67/3: 485-491.

 

...................................................................................................... 

*** สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม *** 

Tel : 02-374-7118-9, 02-377-2488, 02-377-9580, 02-375-1995
e-mail : customercare@unicorgroup.com
website : www.unicorgroup.com